พลับพลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum asiaticum L. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE)
สมุนไพรพลับพลึงขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลิลัว (ภาคเหนือ), ว่านชน (อีสาน), วิรงรอง (ชวา), พลับพลึงขาว, พลับพลึงดอกขาว เป็นต้น
ลักษณะของพลับพลึง
- ต้นพลับพลึง จำเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่ขึ้นเป็นกอ มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลม เมื่อเติบโตเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-15 เซนติเมตร และมีความสูงราว 90-120 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อที่ขึ้นบริเวณโคนต้นและวิธีการเพาะเมล็ด จัด เป็นพรรณไม้ที่สามารถพบได้ในประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง
- ใบพลับพลึง ใบมีสีเขียวจะออกรอบ ๆ ลำต้น ลักษณะของใบมีลักษณะใบแคบ เรียวยาว ขอบใบจะเป็นคลื่น ปลายใบแหลม ใบหนาอวบน้ำ ความกว้างของใบประมาณ 10-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร
- ดอกพลับพลึง ดอกเป็นช่อใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอม แต่ละช่อมีดอกประมาณ 15-40 ดอก ก้านดอกชูขึ้นจากตรงกลางลำต้น มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร และสูงราว 90-120 กลีบดอกมีสีขาวแคบเรียวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร หนึ่งดอกมีกลีบ 6 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะโค้งเข้าหาด้านดอก ที่ดอกมีเกสรตัวผู้มี 6 ด้าน ชูสูงขึ้นจากดอก ที่ปลายเกสรมีสีแดง และจะทยอยออกดอกเรื่อย ๆ
- ผลพลับพลึง จะเป็นผลสีเขียวอ่อน ลักษณะของผลค่อนข้างกลม
พลับพลึง มีสรรพคุณทางยาอยู่หลายประการ โดยส่วนที่นำมาใช้ก็ได้แก่ ใบ ราก และเมล็ด ถึงแม้ว่าพลับพลึงจะมีประโยชน์อยู่มากมาย แต่ก็นำมาใช้ได้แค่ภายนอกเท่านั้น เราจะไม่ใช้พลับพลึงเป็นยากินหรือใช้ภายในเนื่องจากมีพิษนั่นเอง
สรรพคุณของพลับพลึง
- พลับพลึง สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ใบ)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบมาอังไฟแล้วใช้พันรอบศีรษะไว้ อาการปวดศีรษะก็จะทุเลาลง (ใบ)
- ช่วยขับเสมหะ (ใบ)
- ราก เมื่อนำไปเคี่ยวให้แหลกจนเป็นน้ำ แล้วกลืนเอาแต่น้ำเข้าไป จะช่วยทำให้อาเจียน (ราก)
- ช่วยทำให้คลื่นเหียนอาเจียน (ใบ)
- สรรพคุณ พลับพลึงใบใช้เป็นยาระบาย (ใบ)
- ใบใช้ลนไฟ ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อนได้ (ใช้กันในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี)
- ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะและน้ำดีได้ (ใบ)
- ช่วยขับเลือดประจำเดือนให้ออกมาจนหมด (เมล็ด)
- ใบพลับพลึงสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้ออักเสบ (ใบ)
- ใบใช้ทำเป็นยาประคบ สูตรแก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยบำรุงผิว ด้วยการใช้ ใบพลับพลึง / ใบมะขาม / ใบส้มป่อย / ใบเปล้า / ใบหนาด / ขมิ้นชัน / ไพล / การบูร / ผิวมะกรูด / เกลือแกง นำมาตำผสมกันแล้วทำเป็นยาประคบ (ใบ)
- ใบใช้ทำเป็นยาประคบเพื่อคลายเส้น ด้วยการใช้ ใบพลับพลึง 8 บาท / ไพล 4 บาท / อบเชย 2 บาท / ใบมะขาม 12 บาท / เทียนดำ 1 บาท / เกลือ 1 บาท นำมาตำห่อผ้าแล้วนึ่งให้ร้อน นำมาใช้ประคบเส้นที่ตึงให้คลายได้ (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเท้าพลิกแพลงได้ ด้วยการใช้ใบพลับพลึงนำมานึ่งไฟให้ใบอ่อนตัวลง แล้วนำมาพันรอบบริเวณที่เจ็บ (ใบ)
- ใช้ทำเป็นยาย่างช่วยรักษาอาการเลือดตกใน ตกต้นไม้ หรือควายชน ด้วยการใช้ ใบพลับพลึง / ใบชมชื่น / ใบหนาด / ใบเปล้าใหญ่ / ใบส้มป่อย นำมาหั่นและตำแล้วนำไปทำยาย่าง (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดกระดูก ด้วยการใบพลับพลึง ตำผสมกับข่า และตะไคร้ นำไปหมดไฟแล้วนำมาพอกบริเวณที่ปวดกระดูก (ใบ)
- รากพลับพลึง ใช้พอกแผลได้ ด้วยการนำรากมาตำแล้วพอกบริเวณบาดแผล (ราก)
- สรรพคุณของพลับพลึง ใบใช้ประคบแก้ถอนพิษได้ดี (ใบ)
- รากพลับพลึง สามารถใช้รักษาพิษจากยางน่องได้ (ราก)
- ใบพลับพลึง สามารถนำมาใช้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรหรือการอยู่ไฟได้ ด้วยการใช้ใบประคบบริเวณหน้าท้อง จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำให้น้ำคาวปลาแห้ง ช่วยขับของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ นอกจากนี้ยังช่วยขจัดไจมันส่วนเกินได้อีกด้วย (ใบ)
- ใบพลับพลึงมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า Lycorine ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโปลิโอและโรคหัด (ใบ)
advertisements
ประโยชน์ของพลับพลึง
- ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม และให้กลิ่นหอม
- พลับพลึง ประโยชน์ในด้านของพิธีกรรมความเชื่อ ก็มีการใช้ใบพลับพลึงนำมาซอยแล้วใส่ลงในขันน้ำมนต์ นำมาใช้ประพรมตัวเพื่อขับไล่ผีสางหรือสิ่งอัปมงคล
- ในด้านของความเป็นศิริมงคล มีการปลูกต้นพลับพลึงไว้ในบ้าน เพื่อแก้เคล็ดช่วยขับไล่สิ่งที่ไม่เป็นมงคล ช่วยให้ชนะสิ่งไม่ดีทั้งปวงได้
- ประโยชน์พลับพลึง กาบใบสีเขียวของพลับพลึงมีคุณบัตรคล้ายใบตอง สามารถนำมาใช้ทำเป็นงานฝีมือ หรืองานประดิษฐ์ดอกไม้ได้ เช่น การทำกระทง งานแกะสลัก เป็นต้น
- ดอกพลับพลึง สามารถนำไปวัดหรือใช้บูชาพระได้ (ลั้วะ)
- ดอกพลับพลึงมีกลิ่นหอม ช่อใหญ่และยาว นิยมนำมาใช้จัดแจกัน ทำกระเช้าดอกไม้ หรือมอบให้เป็นช่อเดี่ยว ๆ แทนดอกลิลลี่ก็ได้
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สมุนไพรอภัยภูเบศร, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน, ส่วนส่งเสริมการผลิตผัก ไม้ดอกไม้ประดับและสมุนไพร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, พจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ (เต็ม สมิตินันทน์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น