วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตะไคร้หอม

ตะไคร้หอม (Citronella Grass, Sarah Grass) หรือตะไคร้แดง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ซึ่งตะไคร้หอมนั้นมีต้นกำเนิดจากเขตร้อนของเอเชีย เป็นพืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ซึ่งใช้สำหรับไล่ยุงได้ ไม่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานเหมือนกับตะไคร้ โดยมีการนำตะไคร้หอมเข้ามาจากอินเดีย ซึ่งผู้ที่เริ่มนำตะไคร้หอมเข้ามาในประเทศไทยของเราก็คือคุณหลวงมิตรธรรมพิทักษ์ โดยเริ่มปลูกจากจังหวัดชลบุรีแล้วจึงแพร่กระจายปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศ

ลักษณะทั่วไปของตะไคร้หอม
สำหรับต้นตะไคร้หอมนั้นจัดว่าเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าที่มีอายุได้หลายปี มีความสูงของลำต้นประมาณ 2 เมตร โดยมีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นตรงลักษณะเป็นข้อๆ และแตกจากเหง้าออกเป็นกอ มีกลิ่นหอมๆ ส่วนใบนั้นจะออกเป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับกัน รูปทรงขอบขนาน ผิวเกลี้ยง สีเขียว ปลายแหลม และห้อยลง แตกต่างจากตะไคร้บ้านตรงที่มีใบยาวและนิ่มกว่า และเนื่องจากต้นและใบนั้นมีกลิ่นฉุนมากทำให้ไม่สามารถนำมาประกอบอาหารรับ ประทานได้ และดอกของ ต้นตะไคร้หอมนั้นจะออกเป็นช่อมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลอมแดง ออกดอกมาจากกลางต้น ลักษณะคล้ายกาบ โดยช่อย่อยๆจำนวนมากของตะไคร้หอมนั้นจะมีใบประดับอยู่บริเวณโคน 2 ใบ ปลายใบจะแหลม และผลนั้นจะเป็นผลแห้งแบบเมล็ดเดียวและไม่แตก
ตะไคร้หอม
ต้นตะไคร้หอม เป็นทรงพุ่มเหมือนตะไคร้ทั่วไปที่เราคุ้นเคยกันดี
ประโยชน์และสรรพคุณของตะไคร้หอม
ทั้งต้น – สามารถใช้ต้นสดนำมาทุบแล้ววางไว้ใช้สำหรับกันยุงได้ดี รวมทั้งช่วยแก้อาการริดสีดวงในปาก ช่วยขับโลหิต ทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้ง ตลอดจนแก้อาการแน่นท้อง ช่วยขับลมในลำไส้ และทำยาฆ่าแมลง
ตะไคร้หอม
ต้นตะไคร้หอมเมื่อเก็บเกี่ยวพร้อมใช้งาน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตะไคร้หอมนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์และสรรพคุณ มากมายเลยทีเดียว โดยเฉพาะการป้องกันยุงหรือแมลงรบกวนที่เป็นสาเหตุหลักของโรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย และเท้าช้างด้วย

เครือหมาน้อย

กรุงเขมา

กรุงเขมา ชื่อสามัญ Icevine, Pareira barva[2]
กรุงเขมา ชื่อวิทยาศาสตณ์ Cissampelos pareira L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cissampelos poilanei Gagnep., Cissampelos pareira var. hirsuta (Buch.-Ham. ex DC.) Forman) จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)[2],[3]
สมุนไพรกรุงเขมา (อ่านว่า กรุง-ขะ-เหมา) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เปล้าเลือด (แม่ฮ่องสอน), หมอน้อย (อุบลราชธานี), สีฟัน (เพชรบุรี), กรุงเขมา (นครศรีธรรมราช), เครือหมาน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ก้นปิด (ภาคตะวันตกเฉียงใต้), กรุงเขมา ขงเขมา พระพาย (ภาคกลาง), อะกามินเยาะ (มลายู-นราธิวาส), ยาฮูรู้ ซีเซิงเถิง อย่าหงหลง (จีนกลาง), วุ้นหมอน้อย, หมาน้อย เป็นต้น[1],[3],[4]

ลักษณะของกรุงเขมา

  • ต้นกรุงเขมา หรือ เครือหมาน้อย จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยขนาดกลางเนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ เลื้อยพาดพันตามต้นไม้อื่น ๆ ยาวได้ประมาณ 1 เมตร มีรากสะสมอาหารใต้ดิน มีขนนุ่มสั้นขึ้นปกคลุมหนาแน่นตามเถา กิ่ง ช่อดอก และใบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือเหง้า ชอบดินร่วนปนทราย มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย แอฟริกา และอเมริกา ในประเทศไทยพบขึ้นทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าดิบ ป่าผลัดใบ และป่าไผ่ ตามริมแม่น้ำลำธาร ตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงประมาณ 1,100 เมตร ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม[1],[3],[4]
ต้นกรุงเขมา
ต้นเครือหมาน้อย
  • ใบกรุงเขมา ใบเป็นใบเดี่ยว มีหลายลักษณะ เช่น รูปหัวใจ รูปไต รูปกลม หรือรูปไข่กว้าง ออกแบบสลับ ก้นใบปิด ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4.5-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-11 เซนติเมตร ปลายใบส่วนมากมนหรือเรียวแหลมหรือเป็นติ่งหนาม โคนใบกลมตัด หรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ มีขนนุ่มสั้นกระจายทั้งหลังใบและท้องใบ เส้นใบออกจาโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ ก้านใบยาวประมาณ 2-9 เซนติเมตร มีขนนุ่มสั้นหรือเกือบเกลี้ยงติดอยู่ที่โคนใบห่างจากขอบใบขึ้นมาประมาณ 0.1-1.8 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีขนอ่อนนุ่มขึ้นปกคลุมทั้งสองด้านและตามขอบใบ แต่ขนจะร่วงไปเมื่อใบแก่[3]
ใบเครือหมาน้อย
ใบกรุงเขมา
  • ดอกกรุงเขมา ออกดอกเป็นช่อกระจุกสีขาว ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 0.20.5 มิลลิเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่ต่างต้นกัน ออกเรียงแบบช่อเชิงหลั่นมีขนาดเล็ก แต่ละช่อกระจุกจะมีก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ออกเป็นกระจุกเดี่ยว ๆ หรือ 2-3 กระจุกในหนึ่งช่อ โดยช่อดอกเพศผู้จะออกตามง่ามใบ ก้านช่อกระจุกแตกแขนง ยืดยาว ประกอบด้วยกระจุกดอกอยู่ตามง่ามใบประดับ ใบประดับมีลักษณะกลมและขยายใหญ่ขึ้น ดอกเพศผู้เป็นสีเขียวหรือสีเหลือง ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนขึ้นประปราย และมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.25-1.5 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนยาวห่าง มีเกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน อับเรณูยาวประมาณ 0.75 มิลลิเมตร ส่วนช่อดอกเพศเมียนั้นจะเป็นช่อคล้ายช่อกระจุกแยกแขนง ทรงแคบ ยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร โดยจะประกอบไปด้วยช่อดอกที่เป็นกระจุกติดแบบคล้ายเป็นช่อกระจะ แต่ละกระจุกจะอยู่ในง่ามของใบประดับ ใบประดับมีลักษณะกลม เมื่อขยายใหญ่ขึ้นจะยาวได้ถึง 1.5 เซนติเมตร มีขนขึ้นประปรายหรือมีขนยาวนุ่ม ก้านดอกย่อยของดอกเพศเมียจะยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 1 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับกว้าง โคนสอบ ยาวประมาณ 0.75 มิลลิเมตร และมีกลีบเลี้ยง 1 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับกว้าง ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ไม่มีเกสรเพศผู้ปลอม เกสรเพศเมียมี 1 อัน ขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร มีขนยาวห่าง ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง และยอดเกสรเพศเมียจะแยกเป็น 3 พู กางออก[3]
ดอกกรุงเขมา
ดอกเครือหมาน้อย
  • ผลกรุงเขมา ผลเป็นผลสด มีก้านอวบใหญ่ ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมรีอยู่ตอนปลาย ผลเป็นสีส้ม เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง ภายในผลมีเมล็ดลักษณะโค้งงอรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหรือรูปเกือกม้า ผิวเมล็ดขรุขระ มีรอยแผลเป็นของก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ด้านข้าง มีขนสั่นนุ่ม ผนังผลชั้นในเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ด้านบนมีสันขวางประมาณ 9-11 สัน เรียงเป็น 2 แถว ชัดเจน[1],[3]
ผลกรุงเขมา

สรรพคุณของกรุงเขมา

  1. ทั้งต้นกรุงเขมามีรสขม ชุ่มหวานเล็กน้อย เป็นยาอุ่น ใช้เป็นยาฟอกเลือด กระจายเลือด แก้เลือดกำเดา (ทั้งต้น)[1] หรือใช้รากเป็นยาแก้โลหิต กำเดา (ราก)[3]
  2. เปลือกและแก่นเป็นยาบำรุงโลหิต (เปลือกและแก่น)[2] ลำต้นใช้เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี (ลำต้น)[3]
  3. เนื้อไม้ใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง (เนื้อไม้)[2],[3]
  4. รากมีกลิ่นหอม รสสุขม ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาเจริญอาหาร เป็นยาบำรุง (ราก)[3] หมอยาไทยจะใช้รากนำมาทำให้เป็นผงละลายกับน้ำผึ้งกิน หรือขยี้กับน้ำน้ำดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ รวมทั้งใช้รากเป็นส่วนประกอบในแป้งเหล้า โดยเชื่อว่าจะช่วยบำรุงร่างกาย (ราก)[7]
  5. ใช้เป็นยาสงบประสาท (ราก)[3]
  6. หมอยาไทยใหญ่จะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาลดความดันโลหิต ส่วนหมอยาพื้นบ้านบราซิลก็ใช้กรุงเขมาในสรรพคุณนี้เช่นกัน โดยใช้ราก ต้น เปลือก และใบนำมาต้มกิน เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ทั้งต้น)[7]
  7. รากใช้เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (ราก)[2]
  8. ตำรายาไทยจะใช้เป็นยาแก้ไข้ (เปลือกและแก่น,ราก,ทั้งต้น)[1],[2] รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ เป็นยาลดไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ไข้ออกตุ่ม และแก้อาการไอ เจ็บคอ ไอเจ็บหน้าอก เป็นยาขับเหงื่อ (ราก)[3],[4],[7]
  9. ลำต้นใช้เป็นยาดับพิษไข้ทุกชนิด (ลำต้น)[2]
  10. ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน (ใบ,ส่วนเหนือดิน)[3]
  11. ยาจีนจะใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ลมชื้น หรือ โรคหัวใจ (ทั้งต้น)[1]
  12. รากใช้เป็นยาแก้โรคตา (ราก)[3] ส่วนลำต้นใช้เป็นยาพอกแก้ตาอักเสบ (ลำต้น)[3]
  13. ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้หืด (ใบ)[3]
  14. ใช้เป็นยาแก้ลม (ราก)[2],[3]
  15. ใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะ (ราก)[1],[2],[4]
  16. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (ราก)[2]
  17. เนื้อไม้ใช้เป็นยารักษาโรคปอด (เนื้อไม้)[2],[3]
  18. หมอยาไทยเลยจะใช้รากกรุงเขมานำมาต้มกินเป็นยารักษาระบบทางเดินอาหารใน หลาย ๆ อาการ เช่น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ, จุกท้อง, แก้ท้องบิด, ท้องเสีย, ท้องร่วง, ปวดท้อง, แก้เจ็บท้อง (อาการปวดเกร็งที่ท้อง), แก้กินผิด (อาการวิงเวียนศีรษะหลังกินอาหารบางชนิด), แก้ถ่ายเป็นเลือด[2],[3],[4],[7] บ้างว่าใช้เป็นยาระบาย ยาช่วยย่อย ยาถ่าย ใช้เคี้ยวแก้ปวดท้องและโรคบิด (ราก)[2],[3],[4]
  19. หมอยาพื้นบ้านในอเมริกาใต้จะใช้รากเป็นยาต้านอาการปวดเกร็งทั่วไป โรคลำไส้อักเสบ ใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome – IBS) เป็นต้น[7]
  20. รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขัดเบา ระบายนิ่ว แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ราก)[1],[2],[3],[4]
  21. ใช้เป็นยาบำรุงอวัยวะเพศให้แข็งแรง ช่วยรักษาโรคหนองใน (ราก)[3]
  22. ชนเผ่า Creoles ใน Guyana จะแช่ใบ เปลือก ราก ในเหล้ารัมเพื่อเป็นยาบำรุงสมรรถภาพทางเพศ (ราก,เปลือก,ใบ)[7]
  23. หมอยาไทยพวนจะใช้รากฝนกินกับน้ำเป็นยาแก้ปวดประจำเดือน แก้ไข้ทับระดู ช่วยปรับสมดุลของประจำเดือนให้เป็นปกติทั้งอาการที่มีประจำเดือนมากหรือน้อย ซึ่งคล้ายกับการใช้ของหมอยาพื้นบ้านในประเทศในแถบอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ โดยหมอยาเหล่านั้นจะใช้ เถา ราก ใบ และเปลือกของกรุงเขมาเป็นยาระงับอาการปวดทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดบุตร ใช้รักษาอาการตกเลือดหลังคลอด ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบประจำเดือนของผู้หญิง เช่น อาการปวดประจำเดือน มีประจำเดือนมามากจนเกินไป อาการไม่สบายก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome – PMS) รวมไปถึงสิวที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน โดยมีความเชื่อว่าสมุนไพรชนิดนี้สามารถปรับสมดุลฮอร์โมนของเพศหญิงได้ (เถา,ราก,ใบ,เปลือก)[7]
  24. รากใช้เป็นยาขับระดู (ราก)[3] ต้น เปลือกและแก่นใช้เป็นยาแก้ระดูพิการของสตรี (ต้น, เปลือกและแก่น)[2]
  25. หมอยาไทยใหญ่จะใช้รากของกรุงเขมาหรือเครือหมาน้อยนำมาต้มกินไปเรื่อย ๆ แทนยาคุมกำเนิด (แต่ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะในปัจจุบันมียาคุมกำเนิดที่ดีอยู่แล้ว) (ราก)[7]
  26. ใช้เป็นยาแก้ถุงน้ำดีรั่ว ดีล้น ดีซ่าน (ราก,ทั้งต้น)[1],[3]
  27. ส่วนเหนือดินใช้เป็นยาแก้โรคตับ (ส่วนเหนือดิน)[3]
  28. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ราก)[3]
  29. ใช้เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย (ราก)[3]
  30. รากและใบใช้เป็นยาพอกเฉพาะที่ แก้หิด โรคผิวหนัง (รากและใบ)[3] หมอยาพื้นบ้านจะนำใบมาขยี้ให้เป็นวุ้นใช้เป็นยาพอกรักษาฝี แก้หิด แก้ผดผื่นคัน รวมทั้งจากแมลงสัตว์กัดต่อย อาการแสบร้อนตามผิวหนัง อาการอักเสบของผิวหนัง พอกแผล แก้แผลมะเร็ง ช่วยลดอาการบวมตามข้อ (ใบ)[2],[3],[4],[6],[7]
  31. พ่อหมอประกาศ ใจทัศน์ ที่บ้านน้อมเกล้า จังหวัดยโสธร จะใช้รากฝนกับน้ำมะพร้าวให้กินแทนน้ำไปเรื่อย ๆ เพื่อรักษาประดงไฟ ซึ่งมีลักษณะอาการออกร้อนตามตัว หรือที่ภาษาแพทย์เรียกว่า Burning sensation (ราก)[7]
  32. ใช้เป็นยาห้ามเลือด สมานแผล (ทั้งต้น)[1] รากมีสรรพคุณเป็นยาสมาน (ราก)[3]
  33. ใช้เป็นยาแก้ปวด ในยาจีนใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดเอว ภายนอกใช้เป็นยาแก้ปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว คล้ายกล้ามเนื้อ (ทั้งต้น)[1] ส่วนหมอยาพื้นบ้านจะใช้รากเป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ปวดหลังปวดเอว แก้บวม โดยจะฝนกินหรือต้มกินก็ได้ จะใช้เดี่ยว ๆ หรือใช่ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นก็ได้เช่นกัน ส่วนหมอยาพื้นบ้านชาวบราซิลจะใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ไข้ (ราก)[2],[7] และหมอยาพื้นบ้านชาวอินเดียจะใช้การต้มใบและเถากินเป็นยาแก้ปวด (ใบและเถา)[7]
  34. ในอินเดียจะใช้กรุงเขมาเป็นยารักษาโรคธาตุอ่อน ทางเดินปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[1]
  35. ในตำราโอสถพระนารายณ์ กรุงเขมาจัดเป็นส่วนประกอบอย่างในตำรับยาสำหรับแก้เตโชธาตุพิการ ซึ่งประกอบไปด้วยโกฐสอ โกฐเขมา รากพิลังกาสา รากกรุงเขมา รากมะแว้งเครือ รากจิงจ้อใหญ่ ผลราชดัด ผลสรรพพิศม์ ผลสวาด ผลจันทน์เทศ จุกโรหินี มหาหิงคุ์ เทียนดำ และเทียนขาว อย่างละเท่ากัน นำมาทำเป็นจุลละลายกับน้ำนมโคหรือส้มมะงั่วก็ หรืออีกสูตรในตำรับยาแก้ลมอัมพาตหรือลมไม่เดิน ด้วยการใช้รากกรุงเขมา 2 ส่วน, รากพริกไทย 2 ส่วน, ดีงูเหลือง 1 ส่วน และพิมเสน 1 ส่วน นำมาทำให้เป็นจุลละลายน้ำผึ้งรวงกินพอควร (ชยันต์ และคณะ, 2542) หรือในตำรายาโรคนิทาน ก็พบว่ามีการใช้สมุนไพรกรุงเขมาเป็นส่วนประกอบในตำรับยารักษาโรคหลายโรค เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด อาการไอ จุกเสียด แน่นท้อง ท้องร่วง ริดสีดวง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรหลากหลายชนิด (เพ็ญนภา, กาญจนา, มปพ)[5]
ขนาดและวิธีใช้ : ใช้ทั้งต้น ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือนำมาบดให้เป็นผง หรือนำยาสดมาตำพอกแผลตามที่ต้องการ (ถ้าใช้กรุงเขมาแบบไม่ได้สกัด ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้เป็นยารักษาภายนอกมากกว่า)[1]
ข้อควรระวัง : ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดกับสตรีตั้งครรภ์[7]
advertisements

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกรุงเขมา

  • รากมีปริมาณของอัลคาลอยด์สูง[2] สารที่พบ ได้แก่ สารจำพวกอัลคาลอยด์, Hayatinine, Hayatidine, Beburine, Cissamine, Cissampeline, Cissampareine, Pelosine, Sepurine, D-quescitol & Sterol, L-Beheerine เป็นต้น[1],[2],[3]
  • ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ ได้แก่ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจเต้นช้าลง กดระบบทางเดินหายใจ กดระบบประสาทส่วนกลาง บำรุงหัวใจ ต้านฮีสตามีน ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ต้านการชัก ม่านตาขยาย เพิ่มน้ำลาย ขับปัสสาวะ ต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์ คลายกล้ามเนื้อ[2] มีฤทธิ์แก้ปวด แก้อักเสบได้ดี[7]
  • อัลคาลอยด์ Hayatine มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและลดความดันโลหิต โดยมีฤทธิ์เทียบเท่ากับ d-tubercurarine ที่ได้จากยางน่อง ส่วน Cissampeline แสดงฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์[3]
  • เมื่อนำสาร Cissampareine ที่สกัดได้จากต้นกรุงเขมาขนาด 0.139 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม มาฉีดเข้ากล้ามเนื้อของกระต่ายทดลอง พบว่าสามารถทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตึงของกระต่ายคลายตัวได้ แต่ถ้านำมาฉีดเข้าในเส้นเลือดหัวใจของกระต่ายทดลองหรือหัวใจของกบที่แยกออก จากร่าง พบว่าสามารถช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจให้แรงขึ้นได้ และไม่มีผลต่อความดันโลหิตของกระต่ายหรือกบ แต่ถ้านำมาใช้กับแมว พบว่ามีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง[1]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อฉีดสารสกัดจากใบและกิ่งกรุงเขมาด้วยน้ำ หรือแอลกอฮอล์เข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง พบว่าขนาดต่ำสุดที่เป็นพิษคือ 1 มล./ตัว และเมื่อฉีดสารสกัดอัลคาลอยด์เข้าหลอดเลือดของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่สัตว์ทดลองทนได้คือ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเมื่อฉีดสารสกัดจากรากกรุงเขมาด้วยแอลกอฮอล์ต่อน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าที่ช่องท้องหรือใต้ผิวหนัง พบว่าขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่พบพิษ ส่วนพิษในกระต่ายพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดด้วยน้ำเข้าหลอดเลือดในขนาด 0.4 กรัมต่อตัว ไม่พบพิษ[2]
  • เมื่อปี ค.ศ.1979 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นกรุงเขมาด้วยน้ำและ แอลกอฮอล์ (1:1) ในสัตว์ทดลอง ผลการทดลองพบว่า สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้[2]

ประโยชน์ของกรุงเขมา

  1. ในประเทศจีนจะใช้สารสกัดจากกรุงเขมาและดอกลำโพง นำมาฉีดให้คนไข้ที่ต้องผ่าตัดส่วนท้องหรือส่วนอก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ซึ่งจะช่วยให้การผ่าตัดนั้นง่ายขึ้น[1]
  2. ในปัจจุบันนิยมนำมาปลูกไว้ในครัวเรือน เพราะเป็นพืชปลูกง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี จะปลูกลงดินให้เลื้อยกับไม้ใหญ่หรือทำค้างแบบปลูกถั่วก็ได้ เพราะสามารถเก็บผลผลิตมาขายเป็นอาหารพื้นบ้าน ใช้เป็นอาหารสัตว์ของโคกระบือ และนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดี[6]
  3. ใบนำมาคั้นเอาน้ำ เมื่อผสมกับเครื่องปรุงอาหารจะทำให้มีลักษณะเป็นวุ้น โดยใบกรุงเขมาจะมีสารเพกทินอยู่ประมาณ 30% (มีคุณสมบัติในการพองตัวอุ้มน้ำ) ถ้านำใบมาขยำกับน้ำ กรองเอากากออก เมื่อทิ้งไว้จะแข็งตัวเป็นวุ้น เรียกว่า “วุ้นหมาน้อย” สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ โดยใบมาประมาณ 20 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วหาชามใบใหญ่ ๆ นำใบกรุงเขมามาขยี้กับน้ำ 1 แก้ว ขยี้ไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกว่ามีเมือกลื่น ๆ มีฟองเล็กน้อย ขยี้ไปจนได้น้ำสีเขียวเข้ม จากนั้นให้แยกเอากากออกแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำไว้ (ระหว่างคั้นใบให้คั้นใบย่านางผสมลงไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้วุ้นแข็งตัวเร็วขึ้น) หลังจากกรองได้น้ำแล้ว ก็นำไปปรุงอาหารคาวหรือหวานได้ ถ้าเป็นอาหารคาว จะมีการเติมตั้งแต่เนื้อปลาสุก ปลาป่น ปลาร้า ผักชี หัวหอม ต้นหอม ข่า ตะไคร้ พริก เกลือป่น ฯลฯ จากนั้นก็เทน้ำคั้นหมาน้อยลงในถาด พอทิ้งไว้ราว 4-5 ชั่วโมง จะได้วุ้นอาหารคาวรสแซ่บ ตัดวุ้นออกเป็นชิ้น ๆ ให้พอดีคำ จะเป็นอาหารรับลมร้อนที่ดีมาก ส่วนคนอีสานจะนิยมนำมาทำเป็นเมนู “ลาบหมาน้อย” (ภาพด้านล่าง)[1],[3],[5],[6]
  4. ถ้าจะทำเป็นของหวาน อาจคั้นเอาน้ำใบเตยผสมลงไปด้วย แต่งเติมด้วยน้ำเชื่อม น้ำกะทิ ถ้าให้ดีก็ผสมน้ำผึ้ง ทิ้งไว้ให้เย็น เมื่อได้วุ้นหวานเย็นนี้มาก็ให้หั่นเป็นชิ้น ๆ นำมาใส่กับน้ำแข็งน้ำหวาน ใช้ดื่มกินอร่อยนัก เป็นขนมหวานเลิศรสที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ โดยจะสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่เหมาะกับฤดูร้อน เพราะให้รสเย็น ช่วยแก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย อีกทั้งวุ้นหมาน้อยยังเป็นวุ้นธรรมชาติที่ให้เพกทินสูง จึงช่วยเพิ่มกากอาหารในลำไส้ ช่วยย่อย แก้ปวดท้อง แก้ร้อนใน ช่วยในการขับถ่าย ดูดสารพิษจากทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง ลดการดูดซึมของน้ำและไขมัน จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ส่วนผู้ที่ฟื้นไข้เมื่อได้รับประทานแล้วจะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เป็นต้น โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย ได้มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะในส่วนของใบที่มีการนำมาแปรรูปเป็นอาหาร พบว่าใน 100 กรัม จะให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 8.5 กรัม, ไขมัน 0.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 13.6 กรัม, เบต้าแคโรทีน 6,577 ไมโครกรัม และวิตามินเอ 1,096 ไมโครกรัมอาร์อี (กองโภชนาการ กรมอนามัย)[1],[3],[5],[6]
  5. ในด้านความงามก็สามารถนำใบมาทำเป็นสมุนไพรมาร์คหน้า บำรุงผิว แก้สิวได้ด้วย เพียงแค่เด็ดใบนำมาล้างน้ำ ขยี้ใบให้เป็นวุ้น ๆ แล้วนำพอกหน้า หลังพอกจะรู้สึกผิวหน้าเต่งตึงสดใสเปล่งปลัง รู้สึกเย็นสบาย ช่วยแก้อาการอักเสบและสิวได้ ในปัจจุบันจึงมีผู้นำไปผลิตเป็นเจลพอกหน้ากันแล้ว[6],[7]
ลาบหมาน้อย
References
  1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “กรุงเขมา”.  หน้า 46.
  2. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด.  (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก).  “กรุงเขมา”.  หน้า 55-56.
  3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “เครือหมาน้อย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [25 มิ.ย. 2015].
  4. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “กรุงเขมา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/.  [25 มิ.ย. 2015].
  5. หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 417, วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550.  “กรุงเขมา พืชป่ามหัศจรรย์ ณ แดนถิ่นอีสาน”.

หญ้าหวาน

หญ้าหวาน

หญ้าหวาน ชื่อสามัญ Stevia (สตีเวีย)
หญ้าหวาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Stevia rebaudiana (Bertoni) Bertoni (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eupatorium rebaudianum Bertoni, Stevia rebaudiana (Bertoni) Hemsl.) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบราซิลและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้
ทำไมถึงเรียกว่าหญ้าหวาน? นั่นเป็นเพราะว่าในส่วนของใบหญ้าหวานนั้นมีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่เป็นความหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และที่สำคัญก็คือสารสกัดที่ได้จากหญ้าหวานที่มีชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (Stevioside) นั้นเป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า ! และด้วยความที่มันมีคุณสมบัติพิเศษอย่างนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้รักสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยได้มีการนำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างเครื่องดื่ม ยาสมุนไพร และในด้านการแพทย์
ซึ่งแน่นอนว่า ชาวพื้นเมืองในประเทศปารากวัยก็รู้จักนำหญ้าหวานมาสกัดเพื่อใช้ในการบริโภค หลายศตวรรษแล้ว โดยนำมาใช้ผสมในเครื่องดื่ม ชงกับชา ฯลฯ และสำหรับต่างประเทศ อย่างประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการใช้สารสกัดดังกล่าวมานานมากเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว โดยนำไปใช้ผสมกับผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว ผักดอง เนื้อปลาบด เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทย หญ้าหวานได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในภายหลัง และได้มีการนำเข้ามาปลูกในช่วงปี พ.ศ.2518 โดยได้มีการนำมาเพาะปลูกในภาคเหนือ ซึ่งจะเพราะปลูกกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และลำพูน เนื่องจากพืชนิดนี้จะชอบอากาศค่อนข้างหน้าเย็น ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และพืชชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีเมื่อเพาะปลูกในพื้นที่สูง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600-700 เมตร

หญ้าหวานสมุนไพรอันตราย สู่สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

หญ้าหวานมีการใช้กันอย่างกว้างขวางยาวนานโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาใต้ เมื่อปี ค.ศ.1887 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีรายงานว่ามันเป็นอันตรายแต่อย่างใด จนกระทั่งต่อมาในปี ค.ศ.1985 ก็ได้มีผลงานวิจัยทางด้านลบของหญ้าหวานออกมา โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ John M. Pezzuto และคณะ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้สรุปผลการวิจัยและตีพิมพ์ลงในวารสาร Proc. Nati. Acad. Sci. โดยระบุว่าหญ้าหวานนั้นอันตราย เพราะทำให้เกิดการ Mutagenic สูงมากในหนูทดลอง ซึ่งจากผลงานวิจัยนี้เอง ส่งผลให้องค์การอาหารและยาของสหรัฐ(FDA) ออกมาประกาศว่าหญ้าชนิดไม่ปลอดภัยและห้ามใช้เป็นสารปรุงแต่งในอาหาร และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย (ขณะนั้นนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี)
หญ้าหวาน
ต่อมาในปี ค.ศ.1991 มีนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า Emily Procinska และคณะ ได้ออกมาคันค้นรายงานวิจัยของ John M. Pezzuto ว่าอาจมีข้อผิดพลาด โดยตีพิมพ์ในวารสาร Mutagenesis ระบุว่า หญ้าหวานไม่มีผลทำให้เกิด Mutagenic แต่อย่างใด ทั้งนี้ได้ทำการทดลองซ้ำอยู่หลายครั้ง หลังจากนั้นเป็นมาก็ได้มีรายงานต่าง ๆ ออกตามมาอีกมากมายที่ระบุว่าผลของ mutagenic ในสารสกัดหญ้าหวานมีผลน้อยมาก หรืออาจจะมีผลบ้างเล็กน้อย และต่อมาได้มีการตรวจสอบความเป็นพิษพบว่างานวิจัยส่วนมากระบุว่าหญ้าหวานไม่ มีพิษ และไม่มีหลักฐานใด ๆ ระบุว่าหญ้าชนิดนี้อาจจะทำให้เกิดข้อบกพร่องหรือเกิดโรคมะเร็งแต่อย่างใด
แต่กระนั้นก็ตาม FDA ของสหรัฐเองก็ยังไม่สั่งระงับการห้ามใช้หญ้าหวานแต่อย่างใด จนในที่สุดองค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) ได้ยื่นมือเข้ามาไกล่เกลี่ย และได้รายงานการประเมินผลอย่างละเอียดจากงานวิจัยต่าง ๆ และได้ระบุว่าหญ้าชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และในที่สุดเมื่อปี ค.ศ.2009 ที่ผ่านมา FDA สหรัฐก็ได้มีการประกาศว่าหญ้าหวานเป็นพืชที่ปลอดภัย และให้การยอมรับว่าเป็น GRAS (Generally Recognized As Safe)
และจากผลงานวิจัยของทีมวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ข้อสรุปว่า สารสกัดจากหญ้าหวานมีความปลอดภัยในทุก ๆ กรณี โดยค่าสูงสุดที่กินได้อย่างปลอดภัยคือ 7,938 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งสูงมากถ้าเทียบเท่ากับการการผสมในเครื่องดื่มหรือกาแฟถึง 73 ถ้วยต่อวัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอน เพราะคนส่วนใหญ่กินกันประมาณ 2-3 ก็ถือว่ามากเพียงพอต่อวันแล้ว ซึ่งการใช้หญ้าหวานอย่างปลอดภัย คือ ประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม 1 ถ้วย ถือเป็นปริมาณที่เหมาะสม และไม่หวานมากจนเกินไป
ในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็ได้มีขึ้นทะเบียนให้สามารถใช้สารสตีวิโอไซด์เพื่อการบริโภคแทนน้ำตาลได้ เพราะมีความปลอดภัยสูง มีพิษเฉียบพลันต่ำ ไม่เป็นอันตราย หรือมีผลข้างเคียงใด ๆ และที่สำคัญหญ้าหวานยังจัดให้อยู่ในหมวดพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งอีกด้วย
ฤทธิ์ในการออกรสหวานของสารสตีวิโอไซด์จะไม่เหมือนกับน้ำตาลซะทีเดียว เนื่องจากสารสตีวิโอไซด์จะออกรสหวานช้ากว่าน้ำตาลทรายเล็กน้อย และรสหวานะของสารสตีวิโอไซด์จะจางหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย นอกจากนี้สารดังกล่าวยังเป็นสารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใด เพราะมีแคลลอรี่ต่ำมากหรือไม่มีเลยและจะไม่ถูกย่อยให้เกิดเป็นพลังงานกับ ร่างกาย แต่จากข้อด้อยตรงนี้นี่เองก็ถือเป็นจุดเด่นที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต โรคอ้วน และโรคหัวใจ

ลักษณะของหญ้าหวาน

  • ต้นหญ้าหวาน เป็นพืชล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีลำต้นแข็งและกลม ลักษณะทั่วไปคล้ายต้นโหระพา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้กิ่งชำปลูก
ต้นหญ้าหวาน
  • ใบหญ้าหวาน ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหัวกลับ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย มีรสหวานมากใช้แทนน้ำตาลได้
สมุนไพรหญ้าหวาน
  • ดอกหญ้าหวาน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาว ดอกเล็ก กลีบเป็นรูปไข่สีขาวเล็กมาก มีเกสรีตัวผู้เป็นสีขาวงอไปมา ยื่นออกมาเล็กน้อย
ดอกหญ้าหวาน

สรรพคุณของหญ้าหวาน

  1. สมุนไพรหญ้าหวาน ช่วยเพิ่มกำลังวังชาน้ำตาลหญ้าหวาน
  2. ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
  3. ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  4. สรรพคุณหญ้าหวานช่วยลดไขมันในเส้นเลือดสูง
  5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัว ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
  6. หญ้าหวาน สรรพคุณช่วยบำรุงตับ
  7. หญ้าหวาน สรรพคุณทางยาช่วยสมานแผลทั้งภายและภายนอก
advertisements

ประโยชน์ของหญ้าหวาน

  1. ช่วยเพิ่มการรับประทานอาหาร และช่วยลดความขมในอาหารได้
  2. ใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยไม่ทำให้นำตาลในเลือดสูง
  3. หญ้าหวานทางเลือกของคนอ้วน ให้ความหวานเหมือนน้ำตาล แต่ไม่ให้พลังงาน ทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน จึงช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
  4. มีการนำหญ้าหวานไปแปรรูปผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่าง ๆ โดยปัจจุบันนิยมบริโภคหญ้าหญ้าหวานอยู่ด้วย 5 รูปแบบ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ ใบอบแห้ง, ใบแห้งบดสำหรับชงแบบสำเร็จรูป (ชาหญ้าหวาน), ใบสด, ใบแห้งบดสำหรับใช้แทนน้ำตาล (หญ้าหวานผง), และแบบสารสกัดจากใบแห้งด้วยน้ำ โดยจะนิยมนำมาชงเป็นชาดื่ม รองลงมาก็คือ การนำมาต้มและเคี้ยว แต่จะไม่ค่อยนิยมนำมาบริโภคในแบบผสมกับอาหารเท่าใดนัก
  5. มีการนำสารสกัดจากหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาล หรือใช้ทดแทนน้ำตาลบางส่วน เพราะสารสตีวิโอไซด์นั้นมีความทนทานต่อกรดและความร้อนได้เป็นอย่างดี จึงสามารถนำใช้ในอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น น้ำอัดลม น้ำชาเขียว ขนมเบเกอรี่ แยม เยลลี่ ไอศกรีม ลูกอม หมากฝรั่ง ซอสปรุงรส ฯลฯ (ล่าสุดได้ยินมาว่าเครื่องดื่มแบรนด์ดังอย่างโคคา โคล่า ก็ได้มีจดสิทธิบัตรและได้ทำการผลิตโดยใช้สารสกัดนี้แล้วเหมือนกัน แต่ยังไม่เห็นจำหน่ายในไทย ซึ่งถ้ามีมาเมื่อไหร่ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่อยากดื่มน้ำตาล เป็นซอง ๆ)
  6. ในอุตสาหกรรมอาหารสารสกัดจากหญ้าหวานถือว่ามีข้อดีหลายอย่าง เช่น การไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เมื่อนำมาใช้กับอาหารจึงไม่ทำให้อาหารเกิดเน่าบูด ไม่ทำให้อาหารเกิดสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูง ๆ และที่สำคัญก็คือ จะไม่ถูกดูดซึมในระบบย่อยอาหาร จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิต และโรคหัวใจ
  7. สารสตีวิโอไซด์ นอกจากจะใช้ในอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปใช้แทนน้ำตาลในการผลิตยาสีฟันอีกด้วย
ชาหญ้าหวาน

หญ้าหวาน อันตรายหรือไม่ ?

มีความกังวลว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถทำให้เป็นหมันได้หรือไม่? แล้วมันจะไปขัดขวางการดูดซึมของสารอาหารอื่น ๆ ในร่างกายด้วยหรือเปล่า? เพราะเคยมีรายงานระบุว่าชาวปารากวัยกินหญ้าหวานแล้วทำให้เป็นหมันหรือไปลด จำนวนของอสุจิลง จนทำให้ประเทศไทยได้ใช้ประเด็นนี้ในการอ้างไม่อนุญาตให้มีการใช้หญ้าหวาน ซึ่งจากรายงานต่าง ๆ ที่ประชุมได้สรุปข้อมูลจากรายงายต่าง ๆ และได้มีการยืนยันว่าสารสกัดดังกล่าว เมื่อป้อนในหนูทดลองถึง 3 ชั่วอายุ จำนวน 3 รุ่น ไม่พบการก่อการพันธุ์แต่อย่างใด หมายความว่าหนูทดลองยังคงขยายพันธุ์ได้เป็นปกติ และในญี่ปุ่นก็ไม่ได้มีการห้ามใช้หรือกลัวประเด็นนี้แต่อย่างใด เพราะมีการใช้มายาวนานถึง 17 ปี โดยไม่พบว่ามีแนวโน้มความเป็นพิษแต่อย่างใด
ความเห็นส่วนตัว : ผู้เขียนมีแนวโน้มจะเชื่อว่าหญ้าหวานปลอดภัยในทุก ๆ กรณี หากเรารู้จักใช้ให้เหมาะกับโรค และใช้อย่างเหมาะสม ไม่รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็ไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด นอกจากนี้สารให้ความหวานชนิดนี้ ยังมีผลกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตสารให้ความหวานจากการสังเคราะห์ในประเทศ รวมไปถึงนำเข้าสารสังเคราะห์ความหวานจากต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบ จึงอาจจะมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม สารให้ความหวานชนิดนี้ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการผลิตน้ำตาลในประเทศ เนื่องจากเป็นคนละกลุ่มคนละตลาด กลุ่มหนึ่งสำหรับผู้รักสุขภาพ และอีกกลุ่มสำหรับคนทั่วไป เพราะการจะใช้สารสกัดจากหญ้าหวานในชีวิตประจำวันเป็นหลักนั้น จึงเป็นไปยากและเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน
แหล่งอ้างอิง : มูลนิธิสุขภาพไทย, ฝ่ายวิชาการสถาบันการแพทย์แผนไทย, รองศาสตราจารย์ ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ (ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์), ทีมวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สารานุกรมไทยรวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช), เว็บไซต์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เสลดพังพอน

เสลดพังพอน

เสลดพังพอนตัวเมีย ชื่อสามัญ Snake Plant[8]
เสลดพังพอนตัวเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clinacanthus burmanni Nees, Clinacanthus siamensis Bremek., Justicia nutans Burm. f.) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1],[8]
สมุนไพรเสลดพังพอนตัวเมีย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลิ้นมังกร ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่), พญาปล้องคำ (ลำปาง), เสลดพังพอนตัวเมีย (พิษณุโลก), พญาปล้องดำ พญาปล้องทอง (ภาคกลาง), ลิ้นงูเห่า พญายอ (ทั่วไป), โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ชิงเจี้ยน หนิ่วซิ้วฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[3],[8]

ลักษณะของเสลดพังพอนตัวเมีย

  • ต้นเสลดพังพอนตัวเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มแกมเถา มักเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่น ๆ มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตรลำต้นมีลักษณะเกลี้ยง ต้นอ่อนเป็นสีเขียว ลำต้นมีลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นปล้องสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกเหง้าแขนงไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศ หรือพบปลูกกันตามบ้านทั่วไป[1],[2],[5],[7]
ต้นเสลดพังพอนตัวเมีย
ต้นพญายอ
  • ใบเสลดพังพอนตัวเมีย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก รูปรีแคบขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-9 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบเรียบ[1],[5]
ใบเสลดพังพอนตัวเมีย
  • ดอกเสลดพังพอนตัวเมีย ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 3-6 ดอก กลีบดอกเป็นสีแดงส้ม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก คือ ปากล่างและปากบน ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนกลีบรองกลีบดอกนั้นเป็นสีเขียว ยาวเท่า ๆ กัน มีขนเป็นต่อมเหนียว ๆ อยู่โดยรอบ ดอกมีเกสรเพศผู 2 อัน ส่วนเกสรเพศเมียเกลี้ยงไม่มีขน ออกดอกในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม (แต่มักจะไม่ค่อยออกดอก)[1],[2],[3],[5]
ดอกเสลดพังพอนตัวเมีย
พญาปล้องทอง
ลิ้นงูเห่า
  • ผลเสลดพังพอนตัวเมีย ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ (แต่ผลไม่เคยติดเป็นฝักในประเทศไทย) ลักษณะของผลเป็นรูปกลมยาวรี ยาวได้ประมาณ 0.5 เซนติเมตร ก้านสั้น ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4 เมล็ด[2],[3]
หมายเหตุ : เสลดพังพอน เป็นชื่อพ้องของพรรณไม้ 2 ชนิด คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย ซึ่งจะแตกต่างกันตรงที่เสลดพังพอนตัวผู้ลำต้นจะมีหนามและมีดอกเป็นสีเหลือง ส่วนเสลดพังพอนตัวเมียลำต้นจะไม่มีหนามและมีดอกเป็นสีแดงส้ม เพื่อไม่ให้เป็นการสับสนหลาย ๆ ตำราจึงนิยมเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า “พญายอ” หรือ “พญาปล้องทอง” โดยเสลดพังพอนตัวผู้นั้นจะมีสรรพคุณทางยาอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย และตำรายาไทยนิยมนำมาใช้ทำยากันมาก[4]

สรรพคุณของเสลดพังพอนตัวเมีย

  • รากและเปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (รากและเปลือกต้น)[7]
  • ทั้งต้นและใบใช้กินเป็นยาถอนพิษไข้ ดับพิษร้อน (ทั้งต้นและใบ)[1],[3] ใช้เป็นยาลดไข้ ด้วยการใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำซาวข้าว ใช้พอกบนศีรษะคนไข้ประมาณ 30 นาที อาการไข้และอาการปวดศีรษะจะหายไป (ใบ)[6]
  • ช่วยแก้อาการผิดสำแลง (กินอาหารแสลงไข้ แล้วทำให้โรคกำเริบ) ด้วยการใช้รากสดนำมาต้มกินครั้งละประมาณ 2 ช้อนแกง (ราก)[6]
  • ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ ด้วยการนำใบสดมาเคี้ยวประมาณ 10 ใบ กลืนเอาแต่น้ำยาพอให้ยาจืด แล้วจึงคายกากทิ้ง (ใบ)[6]
  • ช่วยแก้คางทูม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่บวม อาการบวมจะหายไป และอาการเจ็บปวดจะหายไปภายใน 30 นาที (ใบ)[6]
  • ใช้เป็นยารักษาโรคบิด (ทั้งต้นและใบ)[1]
  • รากใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน (ราก)[4]
  • ใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ (ทั้งต้น)[3]
  • ช่วยแก้อักเสบแบบดีซ่าน (ทั้งต้น)[3]
  • ใช้เป็นยาแก้แผลอักเสบมีไข้ ไข่ดันบวม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 3-4 ใบ นำมาตำกับข้าวสาร 3-4 เม็ด ผสมกับน้ำพอเปียก ใช้พอกประมาณ 2-3 รอบ จะช่วยให้อาการดีขึ้น (ใบ)[6]
  • ลำต้นนำมาฝนแล้วใช้ทาแผลสดจะช่วยทำให้แผลหายเร็ว (ลำต้น)[7]
  • ใช้รักษาแผลจากสุนัขกัดมีเลือดไหล ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 5 ใบ นำมาตำพอกบริเวณแผลสัก 10 นาที (ใบ)[6]
  • ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผล แผลจะแห้ง หรือจะใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้า ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก จะมีสรรพคุณช่วยดับพิษร้อนได้ดี[4] ส่วนอีกตำราระบุว่านอกจากจะใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้แล้ว ยังช่วยรักษาแผลเปื่อยเนื่องจากถูกแมงกะพรุนไฟ แผลสุนัขกัด และแผลที่เกิดจากการถูกกรดได้อีกด้วย เพียงแค่นำใบไปหุงกับน้ำมันแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น (ใบ)[6]
  • ใช้รักษาแผลน้ำเหลืองเสีย ด้วยการใช้ใบประมาณ 3-4 ใบ คำกับข้าวสาร 5-6 เม็ด เติมน้ำลงไปให้พอเปียก แล้วนำมาพอก จะรู้สึกเย็น ๆ ซึ่งยาจะช่วยดูดน้ำเหลืองได้ดี ทำให้แผลแห้งไว โดยให้เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง พอกไปสักพักหนึ่งแล้วให้เอาน้ำมาหยอดกันยาแห้งด้วย (ใบ)[6]
  • ใช้แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ด้วยการใช้ใบสดตำผสมกับเหล้าใช้ทา หรือใช้เหล้าสกัดใบเสลดพังพอน จะได้น้ำยาสีเขียวนำมาทาแก้ผื่นคัน (ใบ)[6]
  • ใช้แก้สิวเม็ดผดผื่นคัน ด้วยการนำใบมาดองกับเหล้า แล้วผสมดินสอพองใช้ทาแก้สิวและเม็ดผดผื่นคัน (ใบ)[6]
  • ใช้แก้ฝี ด้วยการใช้ใบนำมาโขลกผสมกับเกลือและเหล้า ใช้พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนยาทุกเช้าและเย็น (ใบ)[6]
  • ทั้งต้นและใบใช้เป็นยาขับพิษ ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง มด ยุง ฯลฯ รวมถึงผื่นคัน ไฟลามทุ่ง ลมพิษ แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 5-10 ใบ นำมาขยี้หรือตำใช้ทาบริเวณที่เป็น หรือใช้ใบสดนำมาตำให้พอแหลก แช่ในเหล้าขาวประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล[1],[2],[3],[4] ส่วนอีกตำรับยาแก้ลมพิษ ตามข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบตำผสมกับดินสอพอง ใส่น้ำเล็กน้อย ใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)[6]
  • คนเมืองจะนำใบมาตากแห้งแล้วตำผสมกับแมงป่องปิ้ง ใช้เป็นยาแก้พิษงู (ใบ)[7]
  • ใช้รักษาอาการอักเสบ รักษาแผลร้อนในปาก แก้เริม (แผลผิวหนังชนิดเริม) อีสุกอีใส แก้งูสวัด ขยุ้มตีนหมา และใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ด้วยการใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสดประมาณ 10-20 ใบ (เลือกเอาเฉพาะใบสดสีเขียวเข้มเป็นมัน ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป) แล้วนำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำมะนาว คั้นเอาน้ำมาดื่มหรือเอาน้ำมาทาแผลและเอากากพอกบริเวณแผล หรืออีกวิธีให้เตรียมเป็นทิงเจอร์เพื่อใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กิโลกรัม นำมาปั่นให้ละเอียด เติมแอลกอฮอล์ 70% ลงไป 1 ลิตร แล้วหมักทิ้งไว้ 7 วัน ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง (ห้ามตั้งบนเตาไฟโดยเด็ดขาด) และเติมกลีเซอรีน (Glycerine pure) อีกเท่าตัว (ครึ่งลิตร) แล้วนำน้ำยาเสลดพังพอนกลีเซอรีนที่ได้มาใช้ทาแผลเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก และใช้ถอนพิษต่าง ๆ สำหรับตำรายาแก้งูสวัดอีกตำรับจะใช้ใบสดผสมกับดอกลำโพง โกฐน้ำเต้า อย่างละเท่ากัน รวมกันตำให้พอแหลก แช่กับเหล้า แล้วนำมาใช้ทาแก้แผลงูสวัด (ใบ)[1],[2],[3],[4],[6]
  • ใช้แก้ถูกหนามพุงดอตำหรือถูกใบตะลังตังช้าง ด้วยการนำขี้ผึ้งแท้มาลนไฟให้ร้อน แล้วนำมาคลึงเพื่อดูดเอาขนของใบตะลังตังช้างออกเสียก่อน แล้วจึงใช้ใบเสลดพังพอนผสมกับเหล้าทาบริเวณที่เป็น (ใบ)[6]
  • ใช้เป็นยาแก้แพ้เกสรรักษาป่า ยางรักป่า และยางสาวน้อยประแป้ง ด้วยการใช้ใบผสมกับเหล้า นำมาทาบริเวณที่คัน (ใบ)[6]
  • ใช้แก้หัด เหือด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 7 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 8 แก้ว ต้มให้เดือด 30 นาที เทยาออกและผึ่งให้เย็น แล้วนำมาใบสดมาอีก 7 กำมือ ตำผสมกับน้ำ 8 แก้ว แล้วเอาน้ำยาทั้งสองมาผสมกัน ใช้ทั้งกินและชโลมทา (ยาชโลมให้ใส่พิมเสนลงไปเล็กน้อย) เด็กที่หัด เหือด ให้กินวันละ 3 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว (ใบ)[6]
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ปวดบวม เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ กระดูกร้าว ช่วยขับความชื้นในร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อยเนื่องจากเย็นชื้น (ทั้งต้น)[3]
    รากใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยบั้นเอว (ราก)[4]
ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 30 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำรับประทาน หรือตำพอกแผลภายนอก[3]
ข้อควรระวัง : แม้ในอดีตจะมีการใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล แต่ในปัจจุบันวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะจะทำความสะอาดได้ยาก ทำให้กากติดแผล และอาจทำให้ติดเชื้อเป็นหนองได้
advertisements

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเสลดพังพอนตัวเมีย

  • รากพบสาร Betulin, Lupeol, β-sitosterol ส่วนใบพบสาร Flavonoids ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ สารกลุ่ม monoglycosyl diglycerides เช่น 1,2-O-dilinolenoyl-3-O-b-d-glucopyranosyl-sn-glycerol และสารกลุ่ม glycoglycerolipids ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสเริม[4],[9]
  • จากการทดลองในสัตว์ใช้สกัดจากใบสดของเสลดพังพอนตัวเมียด้วย n-butanol พบว่าสามารถลดการอักเสบได้[2] โดยพบว่าจะช่วยลดการอักเสบของข้อเท้าหนูที่ทำให้บวมด้วยสาร carrageenan ได้ เมื่อใช้ตำรับยาที่มีเสลดพังพอนตัวเมียร้อยละ 5 ใน Cold cream และสารสกัดด้วยเอทานอลจากใบ นำมาทาเฉพาะที่ให้หนูแรท จะช่วยลดการอักเสบเรื้อรังได้ แต่เมื่อใช้สารสกัดด้วย n-butanol มาทาที่ผิวหนังจะไม่ได้ผล[9]
  • สารสกัดจากใบความเข้ม 15 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม มีประสิทธิภาพต้านการอักเสบได้ดี[3]
  • เมื่อให้หนูเม้าส์กินสารสกัดด้วย n-butanol จากใบ พบว่าจะช่วยลดความเจ็บปวดของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้ปวดด้วยกรดอะซีติคได้ โดยสารสกัดความแรง 90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับเฟนนิวบิวทาโซนขนาด 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนสารสกัดด้วยน้ำและสารสกัดด้วยเอทานอล 60 จากใบ พบว่าไม่มีผลลดความเจ็บปวด[9]
  • สารสกัดด้วยเฮกเซน บิวทานอล และและเอทิลอะซิเตทจากใบเสลดพังพอนตัวเมียมีฤทธิ์ต้านไวรัสเชื้อเริม HSV-1 เมื่อนำไปทำเป็นตำรับเจลโดยใช้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 4 และใช้ carbopol 940 เป็นสารก่อเจล พบว่าจะมีฤทธิ์ต้านไวรัสได้ดีและไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ในขณะที่เมื่อใช้สารก่อเจล poloxamer 407 จะมีพิษต่อเซลล์ และจากรายงานการรักษาผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ชนิดเป็นซ้ำด้วยการ ใช้ยาจากสารสกัดเสลดพังพอนตัวเมีย เปรียบเทียบกับยา acyclovir และยาหลอก โดยให้ผู้ป่วยทายาวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 6 วัน พบว่าไม่มีความแตกต่างในระยะเวลาการตกสะเก็ดของแผลผู้ป่วยที่ใช้ยาจาก สารสกัดใบและยา acyclovir โดยแผลจะตกสะเก็ดภายใน 3 วัน และหายสนิทภายใน 7 วัน ซึ่งแตกต่างกับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยยาที่สกัดจากใบเสลดพังพอนตัวเมียจะไม่ทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคือง ในขณะที่ acyclovir จะทำให้แสบ นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาที่ทำจากเสลดพังพอนตัวเมียในผู้ป่วยโรคเริม งูสวัด และแผลอักเสบในปาก แล้วพบว่าสามารถรักษาแผลและลดการอักเสบได้ดี[9]
  • สารที่สกัดจากบิวทานอล (Butanol) ของใบเสลดพังพอนตัวเมีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส Varicella zoster ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดเริมและอีสุกอีใส[3] จากรายงานการรักษาผู้ป่วยโรคงูสวัดด้วยยาจากสารสกัดจากใบเปรียบเทียบกับยา หลอก โดยให้ทายาวันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ จนกว่าแผลจะหาย พบว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยสารสกัดจากใบเสลดพังพอนตัวเมีย แล้วมีแผลตกสะเก็ดภายใน 3 วัน และหายภายใน 7-10 วัน จะมีจำนวนมากกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาหลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับความเจ็บปวดจะลดลงเร็วกว่ากลุ่มที่ใช้ยาหลอก โดยไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ[9]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อป้อนสารสกัด n-butanol จากใบให้หนูเม้าส์ พบว่ามีพิษเล็กน้อย แต่จะมีพิษปานกลางเมื่อฉีดเข้าช่องท้อง ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอลขนาด 1.3 กรัมต่อกิโลกรัม (เทียบเท่าใบแห้ง 5.44 กรัมต่อกิโลกรัม) เมื่อนำมาป้อนเข้าทางปากหรือฉีดเข้าช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่าไม่ทำให้เกิดอาการเป็นพิษใด ๆ[9]
  • จากการศึกษาพิษกึ่งเรื้อรัง ด้วยการป้อนสารสกัด n-butanol จากใบในขนาด 270 และ 540 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้หนูแรททุกวัน นาน 6 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต แต่พบว่ามีน้ำหนักต่อมธัยมัสลดลง ในขณะที่น้ำหนักของตับเพิ่มขึ้น และไม่พบว่ามีความผิดปกติต่ออวัยวะอื่น ๆ หรืออาการไม่พึงประสงค์แต่อย่างใด หนูแรทที่กินสารสกัดด้วยเอทานอลในขนาด 1 กรัมต่อกิโลกรัม ทุกวันนาน 90 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดและกลุ่มควบคุมไม่ต่างกัน แต่น้ำหนักของหนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัดจะต่ำกว่ากลุ่มควบคุม เกร็ดเลือดของหนูแรททั้งสองเพศสูงกว่า และครีอาตินินต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความผิดปกติด้านด้านจุลพยาธิวิทยาของอวัยวะภายในและพยาธิสภาพภายนอก[9]

ประโยชน์ของเสลดพังพอนตัวเมีย

  • ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาใช้บริโภคได้ โดยนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงแค[5]
  • ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมได้มีการผลิตครีมจากสมุนไพรชนิดนี้สำหรับรักษาและบรรเทาโรคเริมและงูสวัดใช้กันแล้ว[8] โดยแบบครีมจะมีสารสกัดอยู่ร้อยละ 4-5 แบบโลชั่นจะจะมีสารสกัดอยู่ร้อยละ 1.25 ส่วนแบบสารละลายสำหรับป้ายปากจะมีสารสกัดเสลดพังพอนตัวเมียในกลีเซอรีนร้อย ละ 2.5-4[9]
References
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “พญาปล้องทอง”.  หน้า 521-522.
  2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “พญาปล้องทอง”.  หน้า 88.
  3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “เสลดพังพอนตัวเมีย”.  หน้า 562.
  4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “เสลดพังพอนตัวเมีย (พญาปล้องทอง)”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/.  [11 ก.ย. 2015].
  5. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “เสลดพังพอนตัวเมีย”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/.  [11 ก.ย. 2015].
  6. สารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๑๐, สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย (เชียงใหม่).  “เสลดพังพอนตัวเมีย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.oocities.org/thaimedicinecm/.  [11 ก.ย. 2015].
  7. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “พญาปล้องทอง, เสลดพังพอนตัวเมีย”.  อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.  [11 ก.ย. 2015].
  8. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “พญาปล้องทอง”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/.  [11 ก.ย. 2015].
  9. สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “พญายอ”.  เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/.  [11 ก.ย. 2015].

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์

ชื่ออังกฤษ: Asthma Weed
ชื่ออื่น: นมราชสีห์, ผักโขมแดง (ภาคกลาง) หญ้าน้ำหมึก (ภาคเหนือ) ไต่ปวยเอียงเช่า, ปวยเอี้ยง (จีน)
ลิงก์ผู้สนับสนุน
น้ำนมราชสีห์

ลักษณะของ…น้ำนมราชสีห์

ต้น น้ำนมราชสีห์เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก อายุปีเดียว เป็นวัชพืช ขึ้นอยู่ทั่วไปในสวนผัก สวนครัวที่รกร้างริมทาง ลำต้นสูง 15-40 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาจากโคนต้นใกล้ดินตั้งขึ้น หรือแผ่ออกไป ลำต้นมีสีแดงน้ำตาล มีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั้งต้นและใบ มียางสีขาวเหมือนน้ำนม
ใบ ใบเดี่ยวสีเขียวรูปรี กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม. ออกเรียงตรงข้าม ปลายใบแหลมสั้นขอบใบมีรอยหยักเล็กๆ คล้ายฟันเลื่อย กลางใบมักมีจุดสีม่วงแดง ท้องใบมีขนสีน้ำตาลเหลือง ไม่มีก้านใบ
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบมีจำนวนมาก ช่อหนึ่งมีดอกย่อยออกเป็นกระจุกแน่นเป็นกลุ่มกลมๆ 2-3 กลุ่ม มีสีเขียวปนม่วงแดง กลุ่มหนึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ไม่มีก้านดอก
ผล กลมออกสามเหลี่ยม เล็กมาก มีรอยแยก 3 รอย ออกดอกผลตลอดทั้งปี
น้ำนมราชสีห์

ประโยชน์ทางยาของ…น้ำนมราชสีห์

ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน ล้างสะอาด ตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้หรือใช้สด มีรสฉุน เปรี้ยว เย็นจัด ใช้แก้พิษ ขับน้ำนม แก้ผดผื่นคัน ลำไส้อักเสบอย่างเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ฝีในปอด มีพิษบวมแดง ฝีที่เต้านม ขาเน่าเบื่อย

วิธีและปริมาณที่ใช้

ทั้งต้นแห้ง 6-10 กรัม(สด 30-60 กรัม) ต้มน้ำกิน ใช้ภายนอกต้มเอาน้ำชะล้าง หรือตำพอก
  • แก้บิดมูกเลือด ใช้ทั้งต้นแห้ง 15-25 กรัม บิดถ่ายเป็นเลือด ให้ผสมน้ำตาลทราย บิดถ่ายเป็นมูกให้ผสมน้ำตาลทรายแดง ใช้น้ำต้มสุกตุ๋นเอาน้ำกิน
  • แก้ขัดเบา หนองในปัสสาวะเป็นเลือด ใช้ต้นสด 20-60 กรัม ผสมน้ำต้มกินวันละ 2 ครั้ง
  • แก้ฝีมีหนองลึกๆ ใช้ใบสด 1 กำมือ ผสมเกลือและน้ำตาลแดง อย่างละเล็กน้อยตำพอก
  • แก้ฝีในปอด ใช้ต้นสด 1 กำมือ ตำคั้นเอาน้ำครึ่งแก้ว ผสมน้ำดื่ม
  • แก้ฝีที่เต้านม ใช้ต้นสด 60 กรัม ร่วมกับเต้าหู้ 120 กรัม ต้มกิน และใช้ต้นสด 1 กำมือ ผสมเกลือเล็กน้อยตำผสมน้ำร้อน เล็กน้อยพอกบริเวณที่เป็น
  • แก้เด็กเป็นตานขโมย (ผอม พุงโร ก้นปอด) ใช้ต้นสด 30 กรัม กับตับหมู 120 กรัม ตุ๋นกิน
  • แก้เด็กศีรษะมีแผลเปื่อยเน่า มีน้ำเหลือง ใช้ต้นสด 1 กำมือ ต้มเอาน้ำชะล้างแผล
  • แก้ขาเน่าเปื่อย ใช้ต้นสด 100 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 75 เปอร์เซ็นต์ครึ่งลิตร 3-5 วัน เอาไว้ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ
  • แก้บาดแผลมีเลือดออก ใช้ใบสดขยี้หรือตำพอกแผล ห้ามเลือด
ยางใช้กัดหูด ตาปลา ใช้ยางขาวทาที่เป็นบ่อยๆ
น้ำนมราชสีห์
ความเป็นพิษ: ทั้งต้นมีน้ำยาง มีสารพิษ คือ เรซินัส บลิสเตอร์ และฟลาโวนอยด์ ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง หากกินเข้าไปทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร หากสัตว์กินเข้าไปอาจเกิดอันตรายได้ แต่ถ้าทำให้แห้งหรือผ่านการต้ม พิษจะหมดไป

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ ชื่อสามัญ Aloe, Aloe Vera, Aloin, Barbados, Jafferabad, Star Cactus
ว่านหางจระเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera (L.) Burm.f. จัดอยู่ในวงศ์ XANTHORRHOEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย ASPHODELOIDEAE
สมุนไพรว่านหางจระเข้ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง) เป็นต้น
ต้นว่านหางจระเข้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบชายฝั่ง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบหนาและยาว อวบน้ำ แผ่นใบมีสีเขียว มีจุดยาวสีขาวอ่อน ออกเรียงเวียนรอบต้น โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีหนามแหลมเล็ก ๆสีขาวอยู่ห่างกัน ข้างในใบเป็นวุ้นสีเขียวอ่อน ส่วนดอกว่านหางจระเข้ ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ดอกมีสีแดมอมสีเหลือง ก้านช่อดอกยาว โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น เป็นรูปแตร ส่วนผลว่านหางจระเข้ เป็นผลแห้งคล้ายรูปกระสวย
ต้นว่านหางจระเข้
คำว่า “อะโล” (Aloe) มาจากภาษากรีกโบราณ ที่หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งเป็นคำที่แผลงมาจากคำว่า “Allal” ในภาษายิวที่มีความหมายว่าฝาดหรือขม เพราะเมื่อคนได้ยืนคำนี้ก็จะนึกถึงว่านหางจระเข้นั่นเอง ว่านหางจระเข้ปกติแล้วเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนและภายหลังได้แพร่ขยายพันธุ์ ไปสู่เอเชียและยุโรป จนทุกวันนี้ว่านหางจระเข้ก็เป็นที่นิยมของทั่วโลกไปแล้ว โดยว่านหางจระเข้จะมีมากมายกว่า 300 สายพันธุ์ ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตรไปจนถึงสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายเข็ม มีเนื้อหาและในเนื้อมีน้ำเมือกเหนียว
ดอกว่านหางจระเข้
เมื่อพูดถึง สมุนไพรว่านหางจระเข้ เรามักจะนึกถึงสรรพคุณในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน ใช้ทาเพื่อป้องรอยแผลเป็นมาตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งสารที่สามารถใช้รักษาแผลดังกล่าวได้เป็นสาร Glycoprotein ที่มีชื่อว่า Aloctin A เป็น Anti-inflammatory ที่พบได้ในทุก ๆ ส่วนของว่านหางจระเข้ ซึ่งนอกจากสรรพคุณดังกล่าวแล้วยังมีประโยชน์ของว่านหางจระเข้อื่น ๆอีกมากมาย ไปดูกันเลย…
รูปว่านหางจระเข้วุ้นว่านหางจระเข้

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

  1. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น หรือจะทำเป็นน้ำปั่นว่านหางจระเข้มาดื่มก็ได้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันโรคเบาหวานได้
  2. ว่านหางจระเข้ สรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการตัดใบสดของว่านหางจระเข้ แล้วทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วเอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ใบ)
  3. วุ้นว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันและลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ
  4. เนื้อว่านหางจระเข้สรรพคุณ ว่านหางจระเข้ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (เนื้อวุ้น)
  5. ใช้เป็นถ่าย ยาระบาย ที่เปลือกของว่านหางจระเข้จะมีน้ำยางสีเหลือง ในน้ำยางจะสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากนำน้ำยางไปเคี่ยวให้น้ำระเหยออกแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ก็ตะได้สารสีน้ำตาลเกือบดำ หรือเรียกว่า “ยาดำ” ซึ่งยาดำนี้เองใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณที่ต้องการให้มีฤทธิ์เป็นยา ระบายอยู่หลายตำรับ (ยางในใบ)
  6. ช่วยรักษาอาการท้องผูก ด้วยการกรีดเอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ (ยาดำ) แล้วตักมาใช้ประมาณช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วคนจนละลาย โดยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน แต่ถ้าเป็นเด็กให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาก่อนนอน
  7. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เนื้อวุ้นจากใบเหลาให้เป็นปลายแหลมเล็กน้อย และนำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งจนเนื้อแข็ง แล้วนำไปใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ควรหมั่นทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย (เนื้อวุ่น)
  8. ช่วยแก้หนองใน (ราก,เหง้า)
  9. ช่วยแก้มุตกิดหรือระดูขาวของสตรี (ราก,เหง้า)
  10. ทั้งต้นของว่านหางจระเข้ มีรสเย็น ใช้ดองกับสุรานำมาดื่มช่วยขับน้ำคาวปลาได้ (ทั้งต้น)
  11. ช่วยบรรเทาและแก้อาการปวดตามข้อ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้งเป็นประจำจะช่วยทำให้อาการปวดดีขึ้น (วุ้นจากใบ)
  12. ใบว่านหางจระเข้มีรสเย็น นำมาตำผสมกับสุราใช้พอกรักษาฝีได้ (ใบ)
  13. ช่วยรักษาแผลสด แผลจากของมีคม แผลที่ริมฝีปาก แก้ฝี แก้ตะมอย ด้วยการใช้วุ้นจากใบนำมาแปะบริเวณแผลให้มิดชิดและใช้ผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้ชุ่มอยู่เสมอหรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้ (วุ้นจากใบ)
  14. ช่วยรักษาแผลถลอก และจากการถูกครูด (แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก) ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้นำมาทาแผลเบา ๆ ในวันแรกต้องทาบ่อย ๆ จะช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น และทำให้ไม่เจ็บแผลมาก (วุ้นจากใบ)
  15. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ช่วยดับพิษร้อนบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผล ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดที่ล้างน้ำสะอาด แล้วฝานบาง ๆ นำมาทาหรือแปะไว้บริเวณแผลตลอดเวลา จะช่วยทำให้แผลหายเร็วมากขึ้นและอาจไม่เกิดรอยแผลเป็นด้วย (วุ้นจากใบ)
  16. ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ทำให้แผลเป็นจางลง ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น (วุ้นจากใบ)
  17. ช่วยรักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต ด้วยการใช้วุ้นจากใบที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาปิดไว้บริเวณที่เป็นและหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ จนกว่าจะดีขึ้น (วุ้นจากใบ)
  18. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยการใช้วุ้นจากใบทาก่อนออกแดด หรือจะใช้ใบสดก็ได้ แต่ใบสดอาจทำให้ผิวหนังแห้ง เพราะใบมีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าต้องการลดการทำให้ผิวแห้ง ก็อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืชหรืออาจเตรียมเป็นโลชั่นก็ได้ (วุ้นจากใบ)
  19. ช่วยรักษาอาการผิวหนังไม้จากแสงแดด หรือไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี โดยนำวุ้นของว่ายหางจระเข้มาทาผิวบ่อย ๆ ก็จะช่วยลดการอักเสบได้ แต่ถ้าไปนาน ๆระวังผิวแห้ง ควรผสมกับน้ำมันพืช เว้นแต่ว่าจะทำให้ผิวเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลา (วุ้นจากใบ)
  20. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อรักษาฝ้า (วุ้นจากใบ)
  21. ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวาง (โรคสะเก็ดเงิน) ช่วยลดการตกสะเก็ดและลดอาการคันของโรคเรื้อนกวาง ทำให้แผลดูดีขึ้น (วุ้นจากใบ)
advertisements

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้

  1. น้ําว่านหางจระเข้ สามารถช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยชะลอความแก่ชรา และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย
  2. ว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมไปถึงกรดอะมิโน อีกหลายชนิดที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุแมงกานีส ธาตุซีลีเนียม ธาตุโครเมียม วิตามินเอ วิตามินซี วิตามิอี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี6 วิตามินบี9 โคลีน และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินบี12 ด้วย
  3. น้ําว่านหางจระเข้ช่วย ในการย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ ช่วยในการดีท็อกซ์ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยในการทำงานของระบบกระเพาะอาหาร และช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
  4. จากวารการแพทย์อังกฤษตีพิมพ์ในปี 2000 (British Medical Journal) ระบุว่าสารสกัดจากว่านหางจระเข้ สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมความดันโลหิตและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และอาจจะมีความเป็นไปได้ว่ามันสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ อีกด้วย
  5. ช่วยป้องกันแก้อาการเมารถเมาเรือ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้หรือน้ําว่านหางจระเข้เย็น ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
  6. การใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเป็นประจำวันละ 2-4 8รั้ง จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
  7. ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม ดูชุ่มชื้น แก้ปัญหาผิวแห้งกร้านตามหัวเข่า, ข้อศอก หรือส้นเท้าได้ เพียงแค่ใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้แช่ในอ่างอาบน้ำ ในระหว่างอาบให้ใช้เนื้อวุ้นถูตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้องการ หากทำเป็นประจำก็จะช่วยทำให้ผิวพรรณของคุณเนียนนุ่มชื่นชื้นและเต่งตึงได้
  8. ช่วยเติมน้ำให้ผิว ทำให้ผิวหน้าและผิวกายชุ่มชื้น และป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย เพียงแค่ใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้นำมาพอกให้ทั่วบริเวณใบหน้าหรือบริเวณผิว ที่ต้องการ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้นสดใสและดูเต่งตึงขึ้น
  9. ว่านหางจระเข้รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของสิว ช่วยลดรอยดำจากสิว และช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่างหางจระเข้จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ (ไม่แนะให้ใช้กับสิวอักเสบ เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย)
  10. ช่วยรักษาจุดด่างดำตามผิวหนัง อันเนื่องมาจากแสงแดดหรือจากอายุที่มากขึ้น ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดนำทาที่ผิววันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำ และต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจึงจะเห็นผล
  11. ช่วยป้องกันการเกิดฝ้า หากใช้ว่านหางจระเข้เป็นประจำก็จะช่วยป้องกันการเกิดฝ้าได้เป็นอย่างดี (ไม่ใช่การรักษาแต่เป็นการป้องกัน)
  12. วุ้นจากใบสดใช้ชโลมบนเส้นผม จะช่วยทำให้เส้นผมสลวย ผมดกเป็นเงางาม ช่วยป้องกันและขจัดรังแค ช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี และยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะได้อีกด้วย
  13. ในฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ร่วมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า ในการรักษาผมร่วง หรือหนังศีรษะล้าน
  14. ปัจจุบันได้มีการทดลองใช้วุ้นจากใบเพื่อรักษาคนไข้ที่เป็นแผลกดทับ (Bedsore)
  15. ประโยชน์ ว่านหางจระเข้ช่วยลบท้องลาบหลังคลอด ด้วยการใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มาทาบริเวณท้องเป็นประจำทั้งในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
  16. ช่วยแก้เส้นเลือดดำขอดบริเวณขา ด้วยการใช้วุ้นว่านหางจระเข้มาทาบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดเป็นประจำ
  17. สาร Aloctin A พบว่ามันสามารถช่วยรักษาโรคต่าง ๆได้หลายโรค เช่น โรคมะเร็ง ช่วยแก้อาการแพ้ รักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
  18. ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ ที่ผลิตมาจากว่านหางจระเข้ เช่น เครื่องสำอาง โลชั่น สบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว ครีมทาใต้ตา ครีมรักฝ้ากระจุดด่างดำ ครีมทาแผลสดแผลพุพอง เจลว่านหางจระเข้ เจลทรีทเม้นท์บำรุงผิวหน้า ฯลฯ
  19. นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารจำพวกของหวานได้อีกด้วย เช่น น้ำวุ้นลอยแก้ว วุ้นแช่อิ่ม นำมาปาปั่นทำเป็นน้ำว่านหางจระเข้ เป็นต้น

สูตรว่านหางจระเข้พอกหน้า

  • สูตรบำรุงผิวหน้า กระชับรูขุมขน เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ว่านหางจระเข้พอกหน้าด้วย การใช้ วุ้นว่านหางจระเข้บด 1 ช้อยโต๊ะ / น้ำแตงกวา 1-2 ช้อนโต๊ะ / ดินสอพอง 1.5 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมจนเข้ากันแล้วใช้พอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  • สูตรลดสิว รักษารอยดำจากสิว ด้วยการใช้ วุ้นว่านหางจระเข้บด 1 ช้อนโต๊ะ / ไข่ขาว 2 ช้อนโต๊ะ / ดินสอพอง 1.5 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมจนเข้ากันใช้ทาบริเวณใบหน้าทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออก
  • สูตรลดความมัน แก้ปัญหาจุดด่างดำ ด้วยการใช้ วุ้นว่านหางจระเข้บด 1 ช้อนโต๊ะ / น้ำมะนาว 1 ช้อนชา / น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา / ดินสอพอง 2 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมให้เข้ากันแล้วนำมาพอกบริเวณใบหน้าทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออก
  • สูตรผิวหน้ากระจ่างใส ด้วยการใช้ วุ้นว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ / นมสด 1.5 ช้อนโต๊ะ / ดินสอพอง 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมจนเข้ากันแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออก
  • สูตรเพิ่มความกระจ่างใส ลดความมัน ด้วยการใช้ วุ้นว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ / นมสด 1.5 ช้อนโต๊ะ / ขมิ้นผง 2 ช้อนชา นำมาผสมจนเข้ากันแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก

คำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้

  • การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน
  • เนื่องจากวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปอกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
  • วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
  • หากนำว่านหางจระเข้ไปแช่ในตู้เย็นจนเย็นก่อนการนำมาใช้ จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
  • การใช้ภายเพื่อใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่กำลังจะมีประจำเดือน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารได้
  • การใช้วุ้นจากใบเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันที
ใบว่านหางจระเข้
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล

ว่านหอมแดง

ว่านหอมแดง
ชื่อสมุนไพร
ว่านหอมแดง
ชื่ออื่นๆ
ว่านไก่แดง ว่านข้าว ว่านหมาก (เหนือ) ว่านเพลาะ (เชียงใหม่) หอมแดง(กลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Eleutherine palmifolia (L.) Merr.
ชื่อพ้อง
Eleutherine amaricana (L.) Merr.
ชื่อวงศ์
Iridaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             พืชล้มลุก หัวใต้ดินรูปไข่ยาว เปลือกหุ้มหัวสีแดง ทรงกระสวย มีลักษณะคล้ายหัวหอม แต่ใบเกล็ดที่หุ้มหัวหนา แข็งกว่า มีสีแดงเข้มอมม่วง ลำต้นที่อยู่เหนือดินตั้งขึ้น โค้ง หรือเอนนอนแต่ปลายโค้งขึ้น ใบ แทงขึ้นมาจากพื้นดิน รูปหอก จีบซ้อนกันคล้ายพัด กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 25-60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแคบ ขอบใบเรียบ ขนเกลี้ยง ใบที่ออกตามลำต้นมีขนาดเล็ก ดอกออก เป็นช่อ กลีบสีขาวรูปช้อน ก้านช่อยาว 2.5-4 เซนติเมตร ตั้งตรง หรือกางออก มักจะโค้ง กาบหุ้มดอกมี 2-10 อัน ซ้อนกันอยู่ที่ง่ามใบใกล้ยอด ยาว 12-16 มิลลิเมตร สีเขียว ดอกมีจำนวน 4-10 ดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 เซนติเมตร ถูกกาบหุ้มดอกหุ้มไว้ ดอกสีขาว มี 6 กลีบ กว้าง 1.5-3.5 เซนติเมตร รูปขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปช้อน เรียงเป็น 2 วง กลีบที่อยู่วงในมีขนาดเล็กกว่ากลีบวงนอก เกสรเพศผู้มี 3 อัน สีเหลืองสด ติดอยู่ที่โคนกลีบดอก ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูตั้งขึ้น รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียสีเหลืองแยกเป็นแขนงสั้นๆ 3 แขนง ผล รูปขอบขนาน หัวตัด มี 3 ช่อง เมล็ดรูปรี อัดกันแน่น พบตามป่าดิบราบต่ำ



ลักษณะวิสัย
 
ลำต้น
 
หัว
 
ช่อดอก
 
ดอก
 
เครื่องยา
 

สรรพคุณ  
              ตำรายาไทย  ใช้   หัว มีรสร้อน มีสรรพคุณขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือตำผสมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย ทำให้อาเจียน แก้บิด และอาการอักเสบของริดสีดวงทวาร น้ำยาที่ได้จาหัวใต้ดินใช้ทาบาดแผล แมลงกัดต่อย บดเป็นผงทาแก้ปวดท้อง

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aeruginosa Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1]
สมุนไพรว่านมหาเมฆ มีชื่อเรียกอื่นว่า ขมิ้นดำ ว่านขมิ้นดำ (เชียงใหม่), กระเจียวแดง, มหาเมฆ, อาวแดง, ขิงเนื้อดำ, ขิงดำ, ขิงสีน้ำเงิน, เหวินจู๋ เอ๋อจู๋ (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[7]

ลักษณะของว่านมหาเมฆ

  • ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า “ขิงดำ” หรือ “ขิงสีน้ำเงิน” ความยาวของเหง้ามีหนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร[1] หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศ[2],[4]
ต้นว่านมหาเมฆ
  • ใบว่านมหาเมฆ ใบจะแทงขึ้นมาจากเหง้าที่โคนใบจะมีกาบใบสีม่วงอมเขียวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 4-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-60 เซนติเมตร ตรงกลางใบจะมีสีม่วงแดง กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ไปจนถึงปลายใบ[1]
ใบว่านมหาเมฆ
  • ดอกว่านมหาเมฆ ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าและมีกาบใบห่อหุ้มอยู่ กาบใบยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมรี กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูแดง มีประมาณ 20 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ บริเวณโคนกลีบดอกเป็นสีขาว กลีบดอกมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 1 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่มี 3 รัง[1]
ดอกว่านมหาเมฆ
  • ผลว่านมหาเมฆ ออผลเป็นพวง ลักษณะเหมือนดอกระกำหรือดอกคำ[2] ลักษณะของผลเป็นรูปไข่สามเหลี่ยม ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกลมมีเนื้อสีขาวใสหุ้มอยู่[1]
หมายเหตุ : หัวว่านและเนื้อในหัวว่านมหาเมฆจะมีลักษณะคล้ายกับว่านหลายชนิด เช่น ว่านขมิ้นชัน ว่านคันทมาลา ว่านใจดำ ฯลฯ แต่จุดแตกต่างที่ชัด คือ เหง้าของว่านคันทมาลาจะมีลักษณะอวบอ้วนกว่า ข้อตามเหง้าถี่กว่า แง่งสั้นมองเห็นได้ชัด ส่วนเหง้าของว่านมหาเมฑจะมีตาสีชมพูเหมือนว่านใจดำ แต่ข้อมีสีดำและห่างกว่าว่านคันทมาลา ขณะที่ว่านใจดำข้อบนเหง้ามีสีน้ำตาล และต่างกับว่านขมิ้นชันตรงที่เนื้อในหัวแก่ของว่านขมิ้นชันจะเป็นสีเหลือง เข้ม[7]

สรรพคุณของว่านมหาเมฆ

  1. เหง้าว่านมหาเมฆมีรสขมเผ็ด เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ใช้เป็นยากระจายเลือดลม (เหง้า)[1]
  2. เหง้าใช้เข้าตำรับยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย (เหง้า)[4]
  3. เหง้าใช้เป็นยาแก้โรคธาตุพิการ ด้วยการใช้เหง้าสดมาโขลกให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว คั้นเอาแต่น้ำกิน (เหง้า)[7]
  4. ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้อาเจียน (เหง้า)[4]
  5. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหอบหืดหายใจไม่ปกติ แก้ไอ (เหง้า)[3]
  6. ใช้เป็นยาแก้ลมขึ้น แก้จุกเสียดแน่นหน้าอก ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ (เหง้า)[1],[2],[4]
  7. เหง้านำมาหั่นเป็นแว่นสดหรือตากแห้งต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง โรคกระเพาะ รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ (เหง้า)[3],[4]
  8. เหง้านำมาหั่นแล้วนำไปดองกับเหล้ากินเป็นยารักษาอาการท้องร่วงได้ดีมาก (เหง้า)[2],[4]
  9. ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย ให้กินเหง้าสดกับน้ำสะอาดหรือน้ำสุกก่อนเข้านอน เพียง 3 วัน ตัวพยาธิในร่างกายก็จะตายหมด (เหง้า)[7]
  10. เหง้าใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากเส้นเลือดของมดลูกอุดตัน (เหง้า)[1]
  11. เหง้านำมาหั่นแล้วนำไปดองกับเหล้าหรือนำมาต้มกับน้ำกิน เป็นยาสำหรับสตรีที่คลอดลูกใหม่ ๆ อยู่เรือนไฟ เป็นยาช่วยแก้อาการปวดมดลูก มดลูกอักเสบ และช่วยชักมดลูกให้เข้าอู่เร็วขึ้น รัดมดลูก ทำให้ยุบตัวเร็ว (เหง้า)[1],[2],[4]
  12. ช่วยคลายและกระจายก้อนเนื้อในร่างกาย หรือซีสต์ในมดลูก (เหง้า)[1]
  13. ใช้รักษาโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรก (เหง้า)[1]
  14. ช่วยรักษาตับและม้ามโต (เหง้า)[1]
  15. เหง้าใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผลและต้านเชื้อรา (เหง้า)[8]
  16. เหง้าใช้เป็นยาประคบผิวหนังแก้อาการคัน (เหง้า)[3]
  17. ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว (เหง้า)[1]
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [1] ให้ใช้ยาแห้งครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่นได้ตามต้องการ[1]
ข้อควรระวัง : สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่มีอาการเลือดลมพร่องหรือม้ามแลกระเพาะหย่อน ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้[1]
advertisements

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านมหาเมฆ

  • ในเหง้าพบน้ำมันซึ่งมีสารที่ประกอบไปด้วย Curcumenol, Curdione, Curzerenone, Germacene, Isofrtungermacrene, Zedoarone และยังพบแป้ง เป็นต้น (สารที่พบจากเหง้าของว่านมหาเมฆ คล้ายกับสารที่พบในเหง้าของขมิ้นอ้อย แต่จะไม่พบสาร Cucurmin ซึ่งเป็นสารที่ให้สีเหลืองของขมิ้นอ้อย)[1]
  • น้ำมันจากเหง้าว่านมหาเมฆมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus inuza, Staphylococcus, เชื้ออหิวาต์ และเชื้อในลำไส้ใหญ่ได้หลายชนิด[1]
  • สาร Curdione จากเหง้าว่านมหาเมฆมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Salmonella typhi, Klebsiella. Pneumoniae และ Stophylococcus aureus[8]
  • เมื่อนำสารที่สกัดได้จากเหง้ามาฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลองที่เป็นโรค มะเร็งในตับ หรือเป็นเนื้อร้าย 180 พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ แต่ถ้านำสารสกัดมาให้หนูทดลองดังกล่าวกิน พบว่าจะไม่มีผลในการรักษา[1]
  • เมื่อนำน้ำมันจากเหง้ามาให้คนหรือสัตว์กิน พบว่าจะมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะและลำไล้ให้มีการขยับและบิดเคลื่อนไหวตัว ทำให้สามารถขับลมในกระเพาะและลำไส้ได้ อีกทั้งยังช่วยแก้อาการปวดกระเพาะและลำไส้ได้อีกด้วย[1]
  • สารสกัดชั้นน้ำยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 protease (IC50 : 500 mcg/ml) (Otake et al.,1995)[6]

ประโยชน์ของว่านมหาเมฆ

  1. ดอกสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารรับประทานได้ โดยนิยมนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก
  2. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพรทั่วไปอย่างแพร่หลายในมาเลเซีย อินเดีย และประเทศในแถบอินโดจีน[3] สำหรับการปลูกนั้นควรปลูกในดินร่วนปนทรายผสมดินลูกรังแดง และให้วางหัวว่านโผล่พ้นดินขึ้นมาเล็กน้อย ว่านชนิดนี้ชอบแสงแดด จึงควรนำมาปลูกในที่กลางแจ้ง[5]
  3. ในด้านของความเชื่อ มีความเชื่อกันว่าหากเกิดจันทรุปราคา ให้นำหัวว่านมหาเมฆมาปลุกเสกด้วยคาถา (เสกจนพระจันทร์มืดมิด) แล้วนำหัวว่านมาทาบตัว จะทำให้ผู้อื่นมองไม่เห็นตัวเรา และหากปรารถนาสิ่งใดก็จะสมดั่งปรารถนา หรือหากนำมารับประทานก็จะเป็นคงกระพันชาตรี[5]
ขมิ้นดำ
หัวว่านมหาเมฆ
References
  1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “ว่านมหาเมฆ”.  หน้า 514.
  2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ว่านมหาเมฆ”.  หน้า 727-728.
  3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “ว่านมหาเมฆ”.  อ้างอิงใน: หนังสือพืชสกุลขมิ้นในประเทศไทย.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org.  [23 ต.ค. 2014]
  4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “ว่านมหาเมฆ”.  อ้างอิงใน: หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสร และคณะ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.  [23 ต.ค. 2014]
  5. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย.  “ว่านมหาเมฆ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com.  [23 ต.ค. 2014].
  6. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.  “ว่านมหาเมฆ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: aidsstithai.org/herbs/.  [23 ต.ค. 2014].
  7. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.  “ขมิ้นดำ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/.  [23 ต.ค. 2014].
  8. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “สารสำคัญในต้นว่านมหาเมฆ”.  เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th.  [23 ต.ค. 2014].
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Ahmad Fuad Morad), www.qsbg.org

ว่านนางคำ

ว่านนางคำ
 เป็นว่านที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับของข่า และขิง และมีลักษณะคล้ายกับขมิ้น แต่ใบจะกว้าง และใหญ่กว่า และมีแถบแดงที่ขอบ และเส้นกลางใบ เป็นว่านที่นิยมนำหัวว่านมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เครื่องสำอาง รวมถึงใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ
อนุกรมวิธาน
Kindom : Planatae
Order : Zingiberales
Family : Zingiberacaea
Genus : Curcuma
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aromatica Salisb.
• ชื่อพ้อง : C. zedoaria Roxb.
• ชื่อท้องถิ่นไทย :
– ว่านนางคำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ว่านนางคำมีลำต้นแท้เป็นหัวใต้ดินแตกออกเป็นแง่ง ส่วนลำต้นที่มองเห็นเหนือดินจะเป็นส่วนของกาบใบ และใบ ที่มักเรียกหรือเข้าใจกันทั่วไปว่า ลำต้น โดยหัวหรือลำต้นแท้มีลักษณะค่อนข้างกลมเป็นแง่งยาว มีเปลือกหุ้มสีน้ำตาลอมเทา เนื้อด้านในมีเหลืองอ่อน เนื้อมีกลิ่นหอม มีรสฝาด หัวว่านางคำจะแตกแง่งออก 2-5 แง่ง เพื่อเติบโตเป็นลำต้นใหม่ ซึ่งแง่งนี้จะใช้สำหรับการแยกแง่งปลูก
ว่านนางคำ
ขอบคุณภาพจาก www.nanagarden.com
ใบ
ว่านนางคำ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แตกใบออกจากหัวใต้ดิน 5-8 ใบ ใบมีสีเขียวสด ใบมีกาบใบเรียงซ้อนกันแน่นทำให้คล้ายลำต้น กาบใบมีลักษณะสีเขียวอมขาว กาบใบแต่ละอันยาวประมาณ 20-30 ซม. ถัดมาเป็นแผ่นใบหรือใบที่มีลักษณะเป็นรูปหอก กว้างประมาณ 10-15 ซม. ยาวประมาณ 40-70 ซม. แผ่นใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม ท้องใบด้านล่างมีขนปกคลุม มีเส้นใบมองเห็นชัดเจน มีเส้นกลางใบ และขอบใบออกสีแดง
ใบว่านนางคำ
ขอบคุณภาพจาก www.banwanlapa.com
ดอก และเมล็ด
ดอกว่านนางคำจะออกเป็นช่อ มีลักษณะคล้ายกับดอกกระเจียว มีช่อดอกยาว 5-8 ซม. ดอกที่เรามองเห็นจะประกอบด้วยใบประดับเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใบประดับมีสีขาวชมพู ปลายใบประดับมีสีขาวอมเขียว ภายในซอกของใบประดับจะเป็นที่อยู่ของดอกที่มีกลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพูแทรก อยู่ในแต่ละซอกของใบประดับ
ดอกว่านนางคำจะเริ่มแทงออกในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มเติบโตอีกครั้งหลังจากทิ้งใบในช่วงฤดูแล้ง และหลังจากแทงดอกออกแล้ว ส่วนของใบก็จะเริ่มแทงขึ้นมาแทน ก่อนดอกจะเหี่ยวลง และใบเริ่มแทงออกมาจำนวนมากขึ้นแทน
เพิ่มเติมจาก รังว่านปากช่อง (1)
ประโยชน์ว่านนางคำ
1. สารสกัดว่านนางคำใช้เป็นส่วนผสมของครีมบำรุงผิว ทั้งในผลิตภัณฑ์ในประเทศ และต่างประเทศ
2. สารสกัดจากว่านางคำใช้เป็นส่วนผสมของยาลดกรด
3. ผงจากว่านนางคำใช้เป็นส่วนผสมของแชมพูสระผม
4. หัวสดหรือผงผสมน้ำนำมาประยุกต์ใช้สำหรับกำจัดเห็บ เหาในคน และสุนัข
5. หัวว่านนางคำนำมาฝานเป็นแผ่นบางๆ และตากแห้งเพื่อทำผงว่านนางคำ เนื้อผงละเอียด มีสีเหลืองม่น
6. ผงว่านางคำนิยมใช้ผสมในอาหารเพื่อให้อาหารมีสีเหลือง ดับกลิ่นคาว และมีกลิ่นหอม ทำให้อาหารน่ารับประทานมากขึ้น
7. ผงว่านางคำใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางต่างๆ
8. หัวสดหรือผงว่านางคำนำต้มย้อมผ้าได้สีเหลืองขี้ม้า
8. หัวว่านนางคำนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยสำหรับผสมในเครื่องสำอาง และยารักษาโรค
9. น้ำมันว่านนางคำใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหอม และใช้เป็นน้ำมันนวดร่างกายตามสปาต่างๆ
10. ว่านนางคำ นอกจากจะนิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากหัวแล้ว บางคนยังนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้มงคลที่จะช่วยป้องกันสัตว์ร้ายเข้าบ้าน ป้องกันสิ่งอัปมงคลต่างๆ
ผงว่านนางคำ
ขอบคุณภาพจาก www.chakkrawatherb.com
สารสำคัญที่พบ
– Pinene
– Sabinene
– Linalool
– Caryophyllene
– α-phellandrene
– 1,8-cineole
– C8-aldehyde
– Methyl hatanone
– Cucuminoid (ให้สารสีเหลืองแก่หัวว่าน)
– Diarylheptanoids
– Camphor
– Borneol และIsoborneol
– Germacrone
– Geranoil
– Curzerenone
– Myrcene
ที่มา : Sukuntala Behura, (2002)(2)
สรรพคุณว่านนางคำ
ราก นำมาต้มน้ำดื่ม
– ใช้เป็นยาขับเสมหะ
– ช่วยเจริญอาหาร
– แก้โรคหนองใน
หัวต้มน้ำดื่ม
– แก้อาการปวดท้อง แน่นท้อง
– ช่วยเจริญอาหาร
– ต้าน และยับยั้งเซลล์มะเร็ง
นำหัวมาฝน/ต้มน้ำใช้ภายนอก
– ใช้ทารักษาผดผื่น ภูมิแพ้ และช่วยลดอาการคัน
– ใช้ต้มน้ำอาบรักษาโรคผิวหนัง
– ฝนให้ละเอียด นำมาประคบรักษาแผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง
– นำมาผสมน้ำ ใช้ทาผิว ช่วยให้ผิวเต่งตึง และช่วยขัดเซลล์ผิว
– ใช้สระผมร่วมกับแชมพู หรือ นำมาชโลมผมทิ้งไว้ 30 นาที ก่อนล้างออก ซึ่งจะช่วยรักษารังแค รักษาอาการคันศรีษะ รวมถึงช่วยกำจัดเหา
การปลูกว่านนางคำ
ว่านนางคำนิยมขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เนื่องจาก ดอกของว่านนางคำไม่ค่อยติดเมล็ด ด้วยการใช้แง่งที่แตกออกจากหน่อมาแยกปลูก
การเตรียมดิน
การปลูกว่านนางคำเพื่อการค้าจำเป็นต้องปลูกในแปลงขนาดใหญ่ ก่อนปลูกจะเตรียมดิน ดังนี้
– ไถพรวนดิน 2 ครั้ง ก่อนไถครั้งที่ 2 ให้รองพื้นด้วยปุ๋ยคอก 2-4 ตัน/ไร่ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 20 กิโลกรัม/ไร่
– ไถขุดร่องตามแนวยาวของแปลง ลึก 8-12 ซม. ระยะห่างระหว่างแถว 60 ซม.
การปลูก
– ให้ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
– นำแง่งวางเรียงในร่อง ระยะห่างระหว่างหัว ประมาณ 30-40 ซม.
– เกลี่ยกลบดินด้วยจอบให้คลุมทั่วหัว
– รดน้ำตามแนวปลูกให้ชุ่ม
การรดน้ำ
– ในระยะแรกหลังการปลูกจนถึงเริ่มจนถึงเหง้าแตกหน่อ 5-10 ซม. จำเป็นต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 2 วัน/ครั้ง โดยเฉพาะในระยะแรกหลังการปลูกจนถึงเริ่มแตกหน่อ
– การปลูกในช่วงฤดูฝนจะไม่ค่อยให้น้ำมากนัก เพียงอาศัยน้ำฝนก็เพียงพอ แต่จะให้ในบางครั้งที่ฝนทิ้งช่วง ประมาณ 2 วัน/ครั้ง
การกำจัดวัชพืช
– ให้ใช้จอบถากกำจัดวัชพืชในทุกๆ 2-3 เดือน ก่อนถึงฤดูหนาว
การใส่ปุ๋ย
– หลังที่ต้นเริ่มแตกหน่อ 5-10 ซม. ให้หว่านด้วยปุ๋ยคอก 1-2 กำ/ต้น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 50-100 กรัม/ต้น หรือ 3 ต้น/กำมือ
– ใส่ปุ๋ยคอกอีกครั้ง เมื่ออายุการปลูก 3 และ6 เดือน และครั้งสุดท้ายในช่วงเดือนกันยายนให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24 อัตราเดียวกัน
การเก็บหัว
หัวว่านนางคำสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 8-10 เดือน หรือจะเก็บเกี่ยวหัวได้เมื่อใบเริ่มเหี่ยวแล้ว ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม
สำหรับการปลูกเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือนมักปลูกเพียงไม่กี่ต้นในสวนหรือ พื้นที่ว่าง ด้วยการขุดพรวนดิน และกำจัดวัชพืชก่อน จากนั้น ให้ขุดหลุม และรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก 2-3 กำมือ/หลุม พร้อมคลุกผสมกับดินให้เข้ากัน แล้วค่อยนำหัวลงปลูก ซึ่งการปลูกลักษณะนี้จะไม่ค่อยดูแลพิถีพิถันนัก มักปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติก็สามารถเก็บหัวได้ในช่วงท้ายปีเช่นกัน แต่ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนเป็นสำคัญ
นอกจากการปลูกในแปลงดินแล้ว บางท่านยังนิยมปลูกในกระถางด้วย เพราะช่วงออกดอกจะใช้เป็นไม้ประดับได้ด้วย โดยการปลูกในกระถางนั้น ให้ผสมดินกับวัสดุอิทรีย์จำพวกแกลบดำ ปุ๋ยคอก หรือ ขุยมะพร้าว อัตราส่วนที่ 1:2
เอกสารอ้างอิง
1. รังว่านปากช่อง. ชุมนุมว่านยา และไม้มงคล หน้า 208.
2. Sukuntala Behura, 2002. Major constituents in leaf essential oils of Curcuma longa L

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก 
เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน อยู่ในวงศ์ขิง กลุ่มเดียวกับขมิ้นชัน การสุ่มซื้อว่านชักมดลูกในตลาดสมุนไพร พบว่าเป็นเหง้าที่มีลักษณะต่างกันอยู่ กลุ่มที่พบมากจะเรียกกันว่า ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa) และ ว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia)

ว่านชักมดลูกตัวเมีย ขอเรียกสั้น ๆ ในบทความนี้ว่า ว่านตัวเมีย ลักษณะหัวกลมรีตามแนวตั้ง แขนงสั้น


ว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia) หรือว่านตัวผู้ มีลักษณะต่างไปเล็กน้อย คือหัวใต้ดินจะกลมแป้นกว่า แขนงข้างจะยาวกว่า แต่บางครั้งแขนงข้างถูกตัดออกไป หรือหักไป ทำให้จำแนกไม่ชัดเจนนัก ผู้ไม่คุ้นเคยอาจจำแนกไม่ได้ และมักมีปัญหาในการซื้อขาย



หากผ่าดูเนื้อในเปรียบเทียบกัน ว่านตัวเมีย จะมีสีขาวนวล วงในมีสีชมพูเรื่อ ๆ ทิ้งไว้สีชมพูจะเข้มขึ้น ส่วนเนื้อในว่านตัวผู้มีสีคล้ายกัน แต่วงในออกสีเขียวแกมเทาอ่อน ๆ ทิ้งไว้จะออกสีชมพูเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน แต่หากผู้ซื้อไม่มีตัวอย่างเทียบเคียงจะจำแนกยาก

จากการสำรวจและตรวจสอบพันธุกรรมดีเอ็นเอ ระบุว่าว่านชักมดลูกมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์มากกว่า 2 ชนิด แต่ที่มีการวิจัยตรวจสอบคุณภาพชัดเจน มีเพียงสองชนิดข้างต้น

อนึ่ง พบว่าพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ไม่พบปลูกในประเทศไทย และมีลักษณะคล้ายว่านชักมดลูกของไทย รวมทั้งมีสรรพคุณคล้ายกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma xanthorrhiza มีการวิจัยในต่างประเทศค่อนข้างมาก ทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นผลวิจัยของว่านชักมดลูกของเรา พบว่ามีสารสำคัญคนละกลุ่มกัน ส่วนว่านชักมดลูกของเรามีการวิจัยอย่างเป็นระบบในสัตว์ทดลองโดยนักวิทยา ศาสตร์ชาวไทยล้วน

สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้เหง้าว่านชักมดลูกรักษาอาการของสตรี เช่นประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน ตกขาว ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย ริดสีดวงทวาร และไส้เลื่อน

จากสรรพคุณดังกล่าว นักวิจัยตีความว่า ว่านชักมดลูกน่าจะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงคือเอสโตรเจน จึงนำมาสู่งานวิจัยเพื่อพิสูจน์ ในการทดลองฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน สัตว์ทดลองใช้หนูแรตตัวเมียที่ตัดรังไข่ออกไป โดยมีกลุ่ม 1 หนูปกติ กลุ่ม 2 หนูตัดรังไข่ กลุ่ม 3 หนูตัดรังไข่ได้รับเอสโตรเจน กลุ่ม 4 หนูตัดรังไข่ได้รับว่านตัวเมีย และกลุ่ม 5 หนูตัดรังไข่ได้รับว่านตัวผู้ พบว่าว่านตัวเมียแสดงฤทธิ์ดังกล่าวจริง โดยทำให้มดลูกหนูทดลองโตใกล้เคียงกับกลุ่ม 1 และ 3 สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ ซึ่งมีโครงสร้างไม่หมือนเอสโตรเจน เราเรียกสารสำคัญของว่านตัวเมีย ว่าเป็นกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน แปลว่าเป็นสารที่ได้จากพืชในธรรมชาติที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนนั่นเอง ส่วนกลุ่ม 2 และ 5 มดลูกหนูทดลองเล็กลงอย่างชัดเจน แสดงว่าว่านตัวผู้ไม่มีฤทธิ์ดังกล่าวเลย จึงไม่นำมาทดลองต่อไป ดังนั้นการเลือกวัตถุดิบว่านชักมดลูกที่ถูกต้องเพื่อใช้ทำยาแผนไทยจึงมีความ สำคัญต่อสรรพคุณที่ต้องการ

วงการแพทย์ยอมรับว่า สารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีศักยภาพสำหรับรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยทอง ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวามและแสบร้อนผิวหนัง หงุดหงิด ไขมันในเลือดสูง ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และที่สำคัญคือกระดูกพรุน ไฟโตเอสโตรเจนมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นและต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย และพัฒนาเป็นโรคเรื้อรัง รวมทั้งโรคมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ

จากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองและหลอดทดลองของนักวิจัยไทยพิสูจน์ว่า ว่านตัวเมียและสารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นเทียบเท่าไวตามินซี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท นอกจากนั้นยังช่วยรักษาและซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจด้วย

พบสารชื่อโฟราซิโตฟีโนนในว่านชักมดลูกที่แสดงฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี และเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากขึ้น จึงลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี สำหรับความเป็นพิษ มีการทดลองพิษเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง พบว่าสารประกอบข้างต้นมีความเป็นพิษต่ำ น่าจะปลอดภัยถ้าจะพัฒนาเป็นยา

สารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตทช่วยให้การลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ เข้าไปในตับและเสริมให้เกิดการขับโคเลสเตดรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหารและ ออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ

ว่านชักมดลูกทำให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้นโดยต้านออกซิเดชั่นที่เกิดขึ้นที่ ผนังหลอดเลือดแดง การทดลองในหนูที่ตัดรังไข่เลียนแบบสตรีวัยทอง และให้กินผงว่านชักมดลูก และ สารสกัดด้วยเฮกเซน พบว่าสามารถป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความ ยืดหยุ่น ทั้งยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย

พบทั้งฤทธิ์ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนที่ทดลองในหนูที่ถูกตัดรังไข่ และกินสารสกัดว่านตัวเมียติดต่อกัน 5 สัปดาห์ พบว่าสามารถป้องกันการสูญเสียแคลเซียม รัษาระดับความหนาแน่นของมวลกระดูกได้เช่นเดียวกับกลุ่มหนูที่กินเอสโตรเจน และดีกว่าเอสโตรเจนตรงที่ทำให้ขนาดมดลูกของหนูทดลองโตขึ้นน้อยกว่า

มีข้อมูลว่าสมุนไพรหลายชนิดทำให้ตับอักเสบ จึงนำว่านตัวเมียมาทดสอบในประเด็นนี้ พบว่าว่านตัวเมียแสดงฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ได้ โดยกระตุ้นกลไกการล้างพิษและลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษในร่างกาย

เมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดแอลกอฮอล์ของว่านตัวเมียล่วงหน้า 4 วัน ก่อนฉีดสารทำลายไตชื่อ ซิสพลาติน หลังจากนั้น 5 วัน ฆ่าหนูเก็บเลือดไปตรวจหาระดับ BUN และพลาสมาเครอาทินิน พร้อมกับตรวจสภาพเซลล์ไตในกล้องจุลทรรศน์ และตรวจหาระดับเอนซามย์ที่แสดงถึงการทำลายเซลล์ไตพบว่า สารสกัดว่านตัวเมียทำให้ระดับของค่าต่าง ๆ ที่ระบุข้างต้นลดลงเป็นปกติเมื่อเปรียบเทียบกับหนูขาวกลุ่มควบคุมที่ถูกฉีด สารพิษเท่านั้น สารออกฤทธิ์เป็นสารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ ผ่านกลไกต้านออกซิเดชั่น

เฉพาะการวิจัยฤทธิ์ปกป้องตับและไตเท่านั้น ที่ทำการทดลองในหนูตัวผู้

จอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคของคนวัยทอง พบในผู้สูงอายุ (50 ขึ้นไป) ทำให้สูญเสียการมองเห็น สารต้านอนุมูลอิสระเป็นกระบวนการธรรมชาติที่จะป้องกันเซลล์เรตินาของตาจาก การถูกทำลายโดยสภาพเครียดจากอนุมูลอิสระ และถ้าอยู่ในสภาพนี้ต่อเนื่อง จะเกิดความเสียหายต่อสารสีในเซลล์เรตินา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม ในหลอดทดลอง สารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ชนิดหนึ่งที่แยกได้จากว่านตัวเมียป้องกันเซลล์เร ตินาจากความเสียหายดังกล่าวได้ด้วยกระบวน การต้านออกซิเดชั่น

สำหรับโรคสมองเสื่อม ทดสอบการเรียนรู้และความจำของหนูวิสต้าที่ตัดรังไข่ เปรียบเทียบผลของสารสกัดเฮกเซนของว่านตัวเมียกับเอสโตรเจน ทดสอบทุกระยะเวลา 30 วัน สรุปผลว่า เมื่อทดสอบถึงวันที่ 67 หนูที่ตัดรังไข่ความจำเสื่อมลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเทียบกับหนูปกติ กลุ่มที่กินสารสกัดว่านตัวเมียและกลุ่มที่ฉีด estrogen ยังมีความจำดีใกล้เคียงกัน สารสกัดในขนาดสูงประสิทธิผลยิ่งดีขึ้น

สารประกอบจากว่านตัวเมียฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (P388 leukemic cell) โดยการทำลายดีเอ็นเของเซลล์มะเร็ง

ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพสูงที่จะผลิตเป็นยาสำหรับ สตรีวัยทอง เพราะสามารถป้องกันและรักษาครอบคลุมอาการที่สำคัญได้หมด ที่น่าสนใจคือผงว่านตัวเมียแสดงผลการทดลองดีพอ ๆ กับสารสกัด ทำให้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและไม่ต้องลงทุนมากอย่างไรก็ตามเป็นการทดลอง ในสัตว์ทดลอง ซึ่งเป็นกระบวนการเบื้องต้น จากนี้ควรมีการทดสอบความเป็นพิษระยะยาว จัดทำแนวทางตรวจสอบคุณภาพให้ชัดเจนและแม่นยำ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีและทดสอบในมนุษย์ ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ในเร็ววันนี้ น่าจะมีผลิตภัณฑ์ว่านชักมดลูกตัวเมียสำหรับสตรีวัยทอง ที่สำเร็จด้วยฝีมือนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย