วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ข่า

ข่า

ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)

ลักษณะของพืช ข่ามีลำต้นที่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า “เหง้า” เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลือง และมีกลิ่นหอมเฉพาะลำต้นที่อยู่เหนือดินสูงได้ถึง 6 เมตร ใบสีเขียวออกสลับข้างกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่ยอดดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาวนวล ด้านในของกลีบดอกมีประสีแดงอยู่ด้านหนึ่ง ผลเปลือกแข็งรูปร่างกลมรี

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่ สด หรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงเวลาที่เหง้าแก่

รสและสรรพคุณยาไทย เหง้าข่า รสเผ็ดปร่า ขับลมแก้บวมฟกซ้ำ

วิธีใช้ เหง้าข่าใช้เป็นยารักษาโรคดังนี้

1. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด ทำได้โดยใช้เหง้าแก่สดหรือแห้ง ขยาดเท่าหัวแม่มือ (สดหนัก 5 กรัม แห้งหนัก 2 กรัม) ต้มน้ำดื่ม

2. โรคกลากเกลื้อน เอาหัวข่าแก่ๆล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบให้แตกนำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 1 คืน ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นและใช้ไม้บางๆ ขูดให้เป็นผิวสีแดงๆ และใช้น้ำยาที่ได้มาทาบริเวณที่เป็น ทา 2 ครั้ง เช้า - เย็นทุกวัน จนกว่าจะหายาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น