หนังสืออิเล็กทรอนิคส์ข้อมูลสมุนไพรของ รพ.สต.แร่
#download#
แพทย์แผนไทย รพ.สต.แร่ Thai Traditional Medicine
แพทย์แผนไทย รพ.สต.แร่ Thai Traditional Medicine จังหวัดสกลนคร
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ว่านกาบหอย
ว่านกาบหอย
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tradescantia spathacea Stearn
|
ชื่อสามัญ : Oyster plant , White flowered tradescantia
|
วงศ์ : Commelinaceae
|
ชื่ออื่น : กาบหอยแครง ว่านหอยแครง (กรุงเทพฯ)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 20-45 ซม. ลำต้นอวบใหญ่ แตกใบรอบเป็นกอ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงซ้อนเป็นวงรอบ รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียว ท้องใบสีม่วงแดง เนื้อใบหนา ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยใบประดับสีม่วงปนเขียว รูปหัวใจคล้ายหอยแครง มี 2 กาบ โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอยหุ้มดอกสีขาว ดอกสีขาวเล็กอยู่รวมเป็นกระจุก กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ สีขาว แผ่นกลีบหนา เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผล รูปรี กว้าง 2.5-3 มม. ยาว 3.5 มม. มีขนเล็กน้อย ผลแก่แตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดเล็ก
ส่วนที่ใช้ : ใช้ใบสด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ และดอก เมื่อเก็บดอกที่โตเต็มที่ แล้วตากแห้ง หรืออบด้วยไอน้ำ 10 นาที แล้วจึงนำไปตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้ |
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ตำรับยา :
|
วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
หญ้าฮี๋ยุ่ม
หญ้าฮี๋ยุ่ม หรือ หญ้ารีแพร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centotheca Lappacea (L) Desv.ชื่อวงศ์ : Poaceae
ชื่ออื่น : หญ้าหมอยแม่หม้าย ขนหมอยแม่ม่าย (สตูล) หญ้าเหล็กไผ่ (สุราษฎร์ธานี) หญ้าอีเหนียว (ชัยนาท) เหนียวหมา (ระนอง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชมีอายุหลายปี
- ลำต้นหญ้าฮี๋ยุ่ม ลำต้นสูง 50-70 เซนติเมตร
- ใบหญ้าฮี๋ยุ่ม ใบมีขนาดกว้าง 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 6.5 - 15.0 เซนติเมตร ตามลำต้น กาบใบ และตัวใบจะเห็นเส้นใบลายเป็นทางยาวชัดเจน ใบมีขน ขอบใบเรียบ บางครั้งมีคลื่นเล็กๆ ทั้งสองด้าน ลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นบางๆ สีน้ำตาล (membranous) สูง 2-3 มิลลิเมตร
- ช่อดอกหญ้าฮี๋ยุ่ม ช่อดอกแบบ panicle ยาว 15 - 43 เซนติเมตร ช่อดอกย่อย (spikelets) มี 2-3 ดอก
- ดอกหญ้าฮี๋ยุ่ม ดอกมีสีเขียว ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ก้านสั้นๆ ที่กาบดอกด้านล่าง หรือท่อนพันธุ์
สรรพคุณทางสมุนไพร
* ช่วยกระชับช่องคลอด ในหญิงหลังคลอด และหญิงที่มีปัญหาช่องคลอดไม่กระชับ
* ช่วยคืนความกระชับให้ช่องคลอดกลับมามีความกระชับเต่งตึง
* ช่วยลดการหย่อนยานของมดลูกได้
* ช่วยบีบมดลูกให้แห้งเข้า
* ช่วยขับน้ำคาวปลา
* ช่วยลดอาการอักเสบของบาดแผลคลอดบุตรได้
* ช่วยสมานแผล
* ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายไว
* ป้องกันการติดเชื้อของบาดแผล
* ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น เต่งตึง
* ช่วยบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร
* ช่วยให้เนื้อเยื่อมีความแข็งแรง
* ช่วยสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่
* บำรุงหัวใจ
* ปรับสมดุลในร่างกาย
* ช่วยดับพิษไข้ พิษร้อนในร่างกาย
วิธีใช้ หญ้ารีแพร์ ทำได้ด้วยการนำหญ้า ไปตากแดดให้แห้ง หลังจากนั้นก็นำหญ้าประมาณหนึ่งกำมือมาเผาร่วมกับไม้ผุ หรือถ่านจนเกิดควัน แล้วก็นำหญ้าที่เผาจนเกิดควันมาวางไว้ใต้เก้าอี้ ที่ผ่านการเจาะรูเป็นวงกลม หลังจากนั้นหญิงที่ผ่านการคลอดบุตร หรือหญิงที่ต้องการยกกระชับช่องคลอดและมดลูก ก็มานั่งลงบนเก้าอี้ เพื่อรมกระชับช่องคลอดได้เลย ส่วนระยะเวลาในการรมนั้นจะรมจนกว่าควันจะหมด ทั้งนี้ ในการรมควันจะทำติดต่อกันประมาณ 2-5 วัน
หญ้ารีแพร์สามารถใช้กินได้ด้วย โดยการนำยอดหญ้ามาลวกจิ้มน้ำพริก นำใบขยี้กับน้ำร้อน หรือต้มแล้วคั้นแต่น้ำดื่ม มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ทำให้ผิวเก็บกักน้ำได้ดีขึ้น ผิวพรรณจึงชุ่มชื้น เปล่งปลั่งเต่งตึง
โพธิ์
โพธิ์
โพธิ์
ชื่อสามัญ Sacred tree, Sacred fig, Sacred fig Tree, The peepal
tree, Peepul tree, Peepul of India, Pipal tree, Pipal of India, Bo tree, Bodhi
Tree[1],[2],[3]
โพธิ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สลี (ภาคเหนือ), สี สะหลี
(ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), โพ โพธิ โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง),
ย่อง (แม่ฮ่องสอน), ปู (เขมร), โพธิใบ เป็นต้น[1],[2],[3] ในปัจจุบันต้นโพธิ์เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี[4]
หมายเหตุ : คำว่า “โพธิ” แต่เดิมแล้วมิได้เป็นชื่อต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
หากแต่เป็นชื่อเรียกของต้นไม้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงประทับใต้ต้นไม้ต้นนั้น
ๆ และได้ตรัสรู้ ต้นโพธิ์ จึงมีความหมายว่า ต้นไม้แห่งการตรัสรู้ (โพธิ แปลว่า
เป็นที่รู้หรือเป็นที่ตรัสรู้) และยังเป็นต้นไม้ที่ชาวพุทธ พราหมณ์
และฮินดูให้ความเคารพนับถือกันอย่างสูงอีกด้วย[3]
ลักษณะของต้นโพธิ์
·
ต้นโพธิ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ
แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง
ตามกิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง ลำต้นมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร
ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เมตร
และมีน้ำยางสีขาว เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนเทา โคนต้นเป็นพูพอนขนาดใหญ่
โดยจัดเป็นพรรณไม้ที่มีรูปทรงของลำต้นส่วนงามชนิดหนึ่ง
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ใช้กิ่งชำ หรือใช้กระโดงจากราก
แต่ส่วนมากแล้วจะเจริญเติบโตจากสัตว์นำพา เช่น นกมากินเมล็ดและไปถ่ายทิ้งไว้
ก็จะเกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมา เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง
พบขึ้นทั่วไปทั้งในทวีเอเชีย ปากีสถาน จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน
ในไทยพบในธรรมชาติน้อยมาก เข้าใจว่ากระจายพันธุ์มาจากต้นที่มีการนำมาปลูกเอง
และพบขึ้นมากตามซากอาคาร และนิยมปลูกกันทั่วไปในวัดทุกภาคของประเทศไทย[1],[2],[3]
·
ต้นโพธิ์ เป็นไม้ที่มีอายุยืนยาวมากชนิดหนึ่ง
แต่เนื่องจากมีกิ่งก้านแยกสาขาออกจากลำต้นมาก
จึงทำให้เกิดเชื้อราที่อาศัยความชุ่มชื้นจากน้ำฝนที่ขังอยู่ตามง่ามไม้
แผ่ขยายเข้าทำลายเนื้อไม้จนเป็นโพรง ซึ่งเรามักจะพบเห็นได้ในต้นโพธิ์ที่มีขนาดใหญ่และมีอายุมาก
แต่ถ้าเป็นโพรงอย่างรุนแรงก็อาจทำให้ต้นโพธิ์ตายได้เหมือนกัน[4]
·
ใบโพธิ์ ใบเป็นใบเดี่ยว
ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปใจ ปลายใบแหลมและมีติ่งหรือหางยาว
(ปลายติ่งบางใบมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของใบ)
โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-24 เซนติเมตร
ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบมีลักษณะห้อยลง แผ่นใบเป็นสีเขียวนวล
ๆ ส่วนยอดอ่อนหรือใบอ่อนนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง
ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก้านใบยาวและอ่อน มีความยาวได้ประมาณ 8-12
เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
หลุดร่วงได้ง่าย เมื่อลมพัดจะเห็นจะเห็นใบโพธิ์พลิ้วไปตามต้นใหญ่ดูสวยงาม
ส่วนปลีที่หุ้มส่วนยอดอ่อนอ่อนสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู[1],[2],[3]
·
ดอกโพธิ์ ออกดอกเป็นช่อกลม ๆ รวมกันเป็นกระจุกภายในฐานรองดอกรูปคล้ายผล โดยจะออกที่ตอนปลายของกิ่ง
ดอกย่อยเป็นแบบแยกเพศ ไม่มีก้าน มีใบประดับเล็กที่โคน ฐานดอกเป็นรูปทรงกลม
ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองนวล และจะเจริญไปเป็นผล[2],[3]
·
ผลโพธิ์ ผลเป็นผลรวม
ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วง
สีแดงคล้ำ หรือม่วงดำและร่วงหล่นลงมา[1],[2]
หมายเหตุ : ต้นโพธิ์ในสกุล
Ficus จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
โพธิใบ (Ficus religiosa Linn.) ซึ่งกล่าวถึงในบทความนี้
และโพธิขี้นกหรือโพธิประสาท (Ficus rumphii Bl.) ข้อแตกต่างของโพธิทั้ง
2 ชนิดนี้คือ
ใบและผลของใบโพธิขี้นกจะมีขนาดเล็กกว่าใบโพธิใบมาก
ส่วนผลสุกของโพธิใบจะเป็นสีแดงคล้ำหรือสีม่วงดำ
ในขณะที่ผลสุกของโพธิขี้นกจะเป็นสีดำ[3]
สรรพคุณของต้นโพธิ์
1. ใบมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการนำใบแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว
ใช้แบ่งดินก่อนอาหารเช้าและเย็น (ใบ)[2]
2. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหัวใจ (ผล)[4]
3. ผลมีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับพิษ (ผล)[4]
4. เมล็ดใช้เป็นยาลดไข้ (เมล็ด)[4]
5. ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้จับสั่นเรื้อรัง (ใบ)[2]
6. เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ (เปลือกต้น)[4]
7. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ผล)[4]
8. น้ำจากเปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน รักษารากฟันเป็นหนอง
(เปลือกต้น)[2],[3],[4]
9. รากใช้เป็นยารักษาโรคเหงือก (ราก)[4]
10. ใบใช้รักษาโรคคางทูม (ใบ)[4]
11. ช่วยรักษาโรคหืด (ผล)[4]
12. ใบใช้รักษาโรคท้องผูก ท้องร่วง (ใบ)[4]
13. ลำต้น ใบมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย (ลำต้น,ใบ)[2]
14. ผลใช้รับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ และช่วยในการย่อยอาหาร (ผล)[1],[2],[3],[4]
15. เมล็ดใช้เป็นยา มีสรรพคุณช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
และมีฤทธิ์เป็นยาระบายเช่นเดียวกับผล (เมล็ด)[1],[2]
16. เมล็ดใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (เมล็ด)[4]
17. ยางใช้รักษาริดสีดวงทวาร (ยาง)[4]
18. เปลือกต้นใช้ทำเป็นยาชงกินแก้โรคหนองใน (เปลือกต้น)[4]
19. เปลือกต้นใช้เป็นยาล้างแผล ช่วยรักษาแผลเปื่อย (เปลือกต้น)[2],[4]
20. เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยสมานบาดแผล ห้ามเลือด ทำให้หนองแห้ง
(เปลือกต้น)[2],[4]
21. ลำต้น ใบใช้เป็นยาบำบัดโรคผิวหนัง
ส่วนเปลือกต้นใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง (ลำต้น,ใบ,เปลือกต้น)[2],[4]
22. ยางใช้เป็นยารักษาโรคหูด (ยาง)[4]
23. ยางมีสรรพคุณเป็นยาแก้เท้าเป็นหน่อ แก้เท้าเป็นพยาธิ (ยาง)[2]
24. ช่วยแก้กล้ามเนื้อช้ำบวม (เปลือกต้น)[4]
25. รากใช้เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ (ราก)[4]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นโพธิ์
·
สารสำคัญที่พบ ได้แก่ amyrin,
bergapten, bergaptol, campesterol, fucosterol,28-iso, n-hentriacontane,
hexacosan-1-ol, lanosterol, lupen-3-one, lupeol, n-nonacosane, octacosan-1-ol,
oleanolic acid methyl ester, pelargonidin-5, 7-dimethyl ether 3-O-α-L-rhamnoside, β-sitosterol, solanesol, stigmasterol[2]
·
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือดสูง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านแบคทีเรีย
ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านเชื้อรา[2]
·
เมื่อปี ค.ศ.1963 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากใบโพธิ์
ผลการทดลองพบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้[2]
·
จากการทดสอบความเป็นพิษและรายงานผลการทดลอง
ด้วยการฉีดสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง
พบว่าในขนาดสูงสุดที่หนูทนได้คือ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
และพบว่ามีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย[2]
ประโยชน์ของต้นโพธิ์
1. ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นอาหาร ใช้เลี้ยงหนอนไหม
นอกจากนี้ใบโพธิ์ยังมีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งสามารถนำมาใช้ในสูตรอาหารในการทำปศุสัตว์ได้
และยังพบด้วยว่าใบมีปริมาณของโปรตีนและธาตุหินปูนสูง[1],[2]
2. ผลอ่อนใช้รับประทานเป็นอาหารได้[1]
3. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามวัดวาอาราม
และยังสามารถปลูกเลี้ยงไว้เป็นไม้แคระแกรนได้ หรือปลูกตามคบไม้หรือปลูกเกาะหิน[1]
4. สำหรับชาวพุทธหรือฮินดู
จะถือกันว่าต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีความเกี่ยวทางศาสนา
ฉะนั้นจึงไม่มีใครนำมาปลูกไว้ตามบ้านเรือน
อีกทั้งรากของต้นโพธิ์อาจทำให้บ้านหรือตัวอาคารเกิดความเสียหายได้
จึงมีปลูกกันมากก็ตามวัดวาอารามเท่านั้น[1] (แต่บางความเชื่อก็ระบุว่า หากปลูกต้นโพธิ์ไว้เป็นไม้ประจำบ้าน
เชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็น)
หมายเหตุ : ในปัจจุบันต้นโพธิ์ที่สำคัญที่สุดจะอยู่ที่พุทธคยา
ประเทศอินเดีย แต่จะไม่ใช่ต้นเดิมเมื่อครั้งพุทธกาล
แต่เป็นต้นที่แตกหน่อมาจากต้นเดิม เนื่องจากต้นโพธิ์ที่พระพุทธองค์เคนประทับ
ได้ถูกผู้มีมิจฉาทิฏฐิและคนนอกศาสนาโค่นทำลายไปแล้ว
แต่ด้วยบุญญาภินิหารเมื่อได้นำน้ำนมโคไปรดที่ราก จึงเกิดมีแขนงแตกขึ้นมาใหม่
และได้มีชีวิตอยู่มาอีกไม่นานก็ตายไปอีก แล้วกลับแตกหน่อขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งต้นที่เหลืออยู่ในปัจจุบันก็นับเป็นต้นที่ 4 แล้ว[4]
References
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่
5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “โพธิ์
(โพ)”. หน้า 575-576.
2. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด.
(เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “โพธิ์”. หน้า 116-117.
3. ไม้พุทธประวัติ, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “โพธิ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/homklindokmai/budhabot/budbot.htm.
[27 ส.ค. 2014].
4. ลานธรรมจักร. “โพธิญาณพฤกษา
: ต้นโพธิ์ (ต้นอัสสัตถะ)”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.dhammajak.net. [27 ส.ค.
2014].
เม็ก
เม็ก | |
ชื่ออื่นๆ
| ไคร้เม็ด (เชียงใหม่ ภาคกลาง) เม็ก (ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ) เสม็ดแดง เสม็ดชุน เสม็ด (สกลนคร สตูล) เสม็ดขาว เสม็ดเขา (ตราด) เม็ดชุน(นครศรีธรรมราช) ขะเม็ก |
ชื่อวิทยาศาสตร์
| Syzygium gratum (Wight) S.N.Mitra var. gratum |
ชื่อพ้อง
| |
ชื่อวงศ์
| Myrtaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 เมตร กิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม ลำต้นสีน้ำตาลแดง เปลือกบาง ซ้อนกันหลายๆชั้น แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปรีถึงรูปใบหอก หรือรูปไข่ กว้าง2.5-4 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ ใบแก่ผิวด้านบนเกลี้ยงมันวาว ใบอ่อนสีน้ำตาลปนชมพู ผิวใบด้านล่างเกลี้ยง มีจุดโปร่งแสงหนาแน่น ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยสีขาว ไม่มีก้านดอก ฐานดอกรูปถ้วย ทรงรูปกรวยแกมทรงกระบอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน สีขาว รูปเกือบกลม สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้จำนวนมาก เกสรเพศเมียมีรังไข่ขนละเอียด อยู่ใต้วงกลีบ ผลสด ทรงกลม สีขาว ฐานผลนูนออกมาและบุ๋ม กระจายพันธุ์แถบป่าผลัดใบ และริมลำธาร ออกดอกช่วงเดือน เมษายน ถึงพฤษภาคม ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักได้
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 เมตร กิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม ลำต้นสีน้ำตาลแดง เปลือกบาง ซ้อนกันหลายๆชั้น แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปรีถึงรูปใบหอก หรือรูปไข่ กว้าง2.5-4 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ ใบแก่ผิวด้านบนเกลี้ยงมันวาว ใบอ่อนสีน้ำตาลปนชมพู ผิวใบด้านล่างเกลี้ยง มีจุดโปร่งแสงหนาแน่น ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยสีขาว ไม่มีก้านดอก ฐานดอกรูปถ้วย ทรงรูปกรวยแกมทรงกระบอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน สีขาว รูปเกือบกลม สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้จำนวนมาก เกสรเพศเมียมีรังไข่ขนละเอียด อยู่ใต้วงกลีบ ผลสด ทรงกลม สีขาว ฐานผลนูนออกมาและบุ๋ม กระจายพันธุ์แถบป่าผลัดใบ และริมลำธาร ออกดอกช่วงเดือน เมษายน ถึงพฤษภาคม ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักได้
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้เบื่อเมา แก้ผิดสำแดง ยอดอ่อน รับประทานสด ขับลม
ตำรายาไทย ใช้ เปลือก ต้มทา ลมพิษ หรือแก้พิษน้ำเกลี้ยง ใบแก่ ตำพอกแก้ฟกช้ำ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้เบื่อเมา แก้ผิดสำแดง ยอดอ่อน รับประทานสด ขับลม
ตำรายาไทย ใช้ เปลือก ต้มทา ลมพิษ หรือแก้พิษน้ำเกลี้ยง ใบแก่ ตำพอกแก้ฟกช้ำ
รากสามสิบ
รากสามสิบ
รากสามสิบ ชื่อสามัญ Shatavari[8]
รากสามสิบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Asparagus racemosus Willd. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Protasparagus racemosus (Willd.) Oberm.) จัดอยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ASPARAGOIDEAE[4]
สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น[1],[2],[4],[5],[6]
ลักษณะของรากสามสิบ
- ต้นรากสามสิบ จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นด้วยหนาม (หนามเปลี่ยนมาจากใบเกล็ดบริเวณข้อ) สามารถเลื้อยปีนป่ายต้นไม้อื่นขึ้นไปได้สูงประมาณ 1.5-4 เมตร แตกแขนงเป็นเถาห่าง ๆ ลำต้นเป็นสีเขียวหรือสีขาวแกมเหลือง เถามีขนาดเล็กเรียว กลม เรียบ ลื่น และเป็นมัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-5 มิลลิเมตร เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม หนามมีลักษณะโค้งกลับ ยาวประมาณ 1-4 มิลลิเมตร บริเวณข้อมีกิ่งแตกแจรงแบบรอบข้อ และกิ่งนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบนเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม กว้างประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.5-2.5 มิลลิเมตร ทำหน้าที่แทนใบ มีเหง้าและรากอยู่ใต้ดิน ออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวย ลักษณะของรากออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย ลักษณะอวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว มีขนาดโตกว่าเถามาก มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย อินเดีย ศรีลังกา ชวา จีน มาเลเซีย และออสเตรเลีย พบขึ้นตามป่าในเขตร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าโปร่งหรือตามเขาหินปูน[1],[2],[4],[5],[8]
- ใบรากสามสิบ ใบเป็นใบเดี่ยว แข็ง ออกรอบข้อเป็นฝอย ๆ เล็กคล้ายหางกระรอก หรืออกเรียงสลับเป็นกันกระจุก 3-4 ใบ ใบเป็นสีเขียวดก ลักษณะของใบเป็นรูปเข็มขนาดเล็ก ปลายใบแหลม เป็นรูปเคียว โคนใบแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10-36 มิลลิเมตร แผ่นมักโค้ง สันเป็นสามเหลี่ยม มี 3 สัน มีหนามที่วอกกระจุกใบ ก้านใบยาวประมาณ 13-20 เซนติเมตร[1],[2],[4]
- ดอกรากสามสิบ ออกดอกเป็นช่อกระจะ ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบและข้อเถา ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ดอกเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม มีประมาณ 12-17 ดอก ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีกลีบรวม 6 กลีบ แยกเป็น 2 วง วงนอก 3 กลีบ และวงในอีก 3 กลีบ กลีบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายกลีบมน ขอบเรียบ กลีบกว้างประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร กลีบดอกมีลักษณะบางและย่น โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปดอกเข็มยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ส่วนปลายแยกเป็นแฉก ดอกมีเกสรผู้เชื่อมและอยู่ตรงข้ามกับกลีบรวม เป็นเส้นเล็ก 6 อัน ก้านชูอับเรณูเป็นสีขาว อับเรณูเป็นสีน้ำตาลเข้ม รังไข่เป็นรูปไข่กลับ อยู่เหนือวงกลีบ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มี 2 ช่อง ในแต่ละช่องมีออวุล 2 เมล็ด หรือมากกว่า ส่วนก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉกขนาดเล็ก โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน[1],[2],[4],[5]
- ผลรากสามสิบ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม หรือเป็นพู 3 พู ผิวผลเรียบเป็นมัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-6 เมล็ด เมล็ดเป็นสีดำ เปลือกหุ้มมีลักษณะแข็งแต่เปราะ ออกผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม[1],[8]
สรรพคุณของรากสามสิบ
- รากสามสิบมีรสเฝื่อนเย็น มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ใช้เป็นยาชูกำลัง (ราก)[1],[4]
- ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้กระษัย (ราก)[4]
- ในประเทศอินเดียจะใช้รากเป็นยากระตุ้นประสาท (ราก)[4]
- รากใช้ผสมกับเหง้าขิงป่าและต้นจันทน์แดง ผสมกับเหล้าโรงใช้เป็นยาแก้วิงเวียน (ราก)[4]
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาลดความดันโลหิตและลดไขมันในเลือด (ราก)[2],[3],[11]
- รากสามสิบมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนให้เพิ่มการหลั่งสาร insulin (ราก)[3]
- ทั้งต้นหรือรากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคคอพอก (ราก,ทั้งต้น)[1],[4]
- ผลมีรสเย็น ใช้ปรุงเป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึม แก้พิษไข้กลับไข้ซ้ำ มักใช้ร่วมกับผลราชดัด เพื่อเป็นยาดับพิษไข้จากบิดเรื้อรัง (ผล)[1],[4]
- รากมีรสเฝื่อนเย็น ใช้กินเป็นยาแก้พิษร้อนในกระหายน้ำ (ราก)[1],[4]
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ราก)[2]
- ช่วยขับเสมหะ[4] แก้การติดเชื้อที่หลอดลม (ราก)[8]
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยขับลม และช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (ราก)[4],[8]
- ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ (ราก)[7],[8],[11]
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการท้องเสีย แก้บิด (ราก)[2],[4]
- ใบมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ใบ)[8]
- ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (ราก)[4]
- รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ ช่วยหล่อลื่นและกระตุ้น (ราก)[2],[4],[5]
- ช่วยรักษาอาการประจำเดือนผิดปกติของสตรี (ราก)[8]
- ทั้งต้นหรือรากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตกเลือด (ราก,ทั้งต้น)[1],[4]
- ในอินเดียจะใช้รากสามสิบเป็นยากระตุ้นสมรรถภาพทางเพศทั้งชายและหญิง คนทางภาคเหนือบ้านเราจะใช้รากสามสิบทำเป็นยาดอง ใช้กินเป็นยาบำรุงสำหรับเพศชาย กินแล้วคึกคักเหมือนม้า 3 ตัว จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ม้าสามต๋อน” ส่วนหมอยาโบราณจะใช้เป็นยาบำรุงสำหรับสตรี ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “สาวร้อยผัว” หรือ “สามร้อยผัว” กล่าวคือไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ยังสามารถมีลูกมีผัวได้ อายุเท่าไหร่ก็ยังดูสาวเสมอ แต่ไม่ใช่กินแล้วจะสามารถมีผัวได้เป็นร้อยคน ในตำราอายุรเวทจะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นสมุนไพรหลักในการบำรุงสตรี ทำให้กลับมาเป็นสาว ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ของสตรี ไม่ว่าจะเป็นภาวะประจำเดือนไม่ปกติ ภาวะหมดประจำเดือน ปวดประจำเดือน ตกขาว มีบุตรยาก หมดอารมณ์ทางเพศ ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ป้องกันการแท้ง ฯลฯ ส่วนวิธีการใช้ก็ให้นำรากมาต้มกิน หรือนำรากมาตากแห้งแล้วบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำผึ้ง นอกจากนี้ยังใช้กระตุ้นน้ำนมในวัวนมได้อีกด้วย (ราก)[7],[8],[11]
- ใช้เป็นยาบำรุงตับและปอดให้เกิดกำลังเป็นปกติ แก้ตับและปอดพิการ (ราก)[1],[2],[4],[5]
- รากใช้ฝนทาแก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย (ราก)[1],[4]
- รากใช้ฝนทาแก้อาการปวดฝี ทำให้เย็น ช่วยถอนพิษฝี พิษปวดแสบปวดร้อน (ราก)[1],[4]
- ช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง (ราก)[4]
- รากใช้กินเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย ครั่นตัว (ราก)[1],[4]
- ช่วยแก้อาการปวดข้อและคอ (ราก)[8]
- ใบมีสรรพคุณช่วยขับน้ำนม ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)[8]
- รากใช้เป็นยาบำรุงเด็กทารกในครรภ์ บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี (ราก)[1],[2],[4],[6]
- ใน “พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)” ได้กล่าวถึงสรรพคุณของรากสามสิบไว้ว่า “ผักหวานตัวผู้มีรสหวาน แก้กำเดา แก้จักษุโรค รากสามสิบทั้ง 2 มีคุณยิ่งกว่าผักหวาน” กำเดาหรือไข้กำเดา มีอยู่ 2 ชนิด อย่างแรก คือ ตัวร้อน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และอีกอย่างหนึ่ง คือ มีอาการรุนแรงมากกว่า มีเม็ดผุดขึ้นตามร่างกาย มีอาการคัน ไอ มีเสมหะ และมีเลือดออกทางปากและจมูก (ราก)[10]
- ส่วนในหนังสือ “พระคัมภีร์เวชศาสตร์สงเคราะห์” ได้กล่าวถึงตำรับยารักษาคนธาตุหย่อน อันมีตัวยารากสามสิบรวมอยู่ด้วยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด โดยระบุว่ามีสรรพคุณ (ที่ค่อนข้างจะเข้าใจยาก) ว่าช่วยจำเริญชีวิตรให้เกิดกำลัง ให้บำรุงธาตุไฟ ให้จำเริญอินทรีย์แต่ละอย่าง มีกำลังมากต่างกัน กินเข้าไปแล้วหาโทษมิได้ ใช้ได้ทั้งเด็ก คนแก่ คนมีกำลัง คนผอม คนไม่มีกำลัง คนธาตุหย่อน ให้ประกอบยานี้กันเถิด อนึ่ง กินแล้วให้บังเกิดบุตร ให้อกตอแค่นแขงทั้ง 4 มีกำลัง ถึงกระหักก็ดี แพทย์ก็นับถือรักษาด้วยยานี้เถิด (ราก)[10]
- อีกตำรับหนึ่งเป็นยาแก้โรคผอมแห้ง แก้หอบหืด แก้ปิดตะ และแก้โรคลมต่าง ๆ จะมีสมุนไพรอยู่ด้วยกัน 20 อย่างรวมทั้งรากสามสิบ (ราก)[10]
- ใน “พระคัมภีร์วรโยคสาร” ตำรับยา “วะระนาทิคณะ” เป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยรากไม้ 17 อย่าง รวมทั้งรากสามสิบ ซึ่งเป็นตำรับยาที่ใช้แก้อันตะวิทราโรค หรือโรคที่มีอาการเสียดแทงในลำไส้ใหญ่ ใช้เป็นยาแก้มันทาคินี แก้เสมหะ แก้คุลุมโรคหายแล และยังมีตำรับยาอีกอย่างก็คือ ตำรับยาแก้เสมหะ ที่มีสมุนไพรรวมอยู่ด้วย 16 อย่าง รวมทั้งรากสามสิบ (ราก)[10]
- ตำรับยาบำรุงครรภ์ แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ ประกอบไปด้วยสมุนไพร 13 ชนิด ได้แก่ รากสามสิบ แก่นสน กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะลูด อบเชย เปลือกสมุลแว้ง เทียนทั้ง 5 บัวน้ำทั้ง 5 โกฐทั้ง 5 จันทน์ทั้ง 4 และเทพทาโร (ใช้อย่างละเท่ากัน) นำทั้งหมดมาใส่ในหม้อเคลือบหรือหม้อดิน เติมน้ำลงไปให้ท่วมยาสูงราว 6-7 เซนติเมตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วนำขึ้นตั้งด้วยไฟอ่อน ๆ ต้มเคี่ยวประมาณ 30 นาที น้ำยาเดือดและมีกลิ่นหอมจึงยกลงจากเตา ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น วันละ 2 เวลา เป็นยาบำรุงครรภ์อย่างดี (ราก)[10]
- นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณของรากสามสิบตามเว็บไซต์ต่าง ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาว่าสมุนไพรชนิดนี้นั้นยังมีสรรพคุณช่วยสร้างสมดุลให้แก่ระบบฮอร์โมนเพศหญิง แก้วัยทอง เพิ่มขนาดหน้าอกและสะโพก ช่วยแก้ปัญหาช่องคลอดอักเสบ ดับกลิ่นในช่องคลอด ช่วยกระชับช่องคลอด ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ช่วยกระชับสัดส่วน ลดไขมันส่วนเกิน บำรุงโลหิต บำรุงผิวพรรณ ลดสิว ลดฝ้า ทำให้ผิวขาวใส ช่วยชะลอความแก่ชรา ลดกลิ่นตัว กลิ่นปาก ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาความจำและสติปัญญา (ไม่มีอ้างอิง)
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้รากตาม [2],[3] ให้ใช้รากประมาณ 90-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละครั้งในตอนเช้า[2],[3]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของรากสามสิบ
- สารสำคัญที่พบ ได้แก่ asparagamine, cetanoate, daucostirol, sarsasapogenin, shatavarin, racemosol, rutin[2]
- สมุนไพรสามสิบมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ลดการอักเสบ แก้อาการปวด คลายกล้ามเนื้อของมดลูก บำรุงหัวใจ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลดอาการหัวใจโตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ขับน้ำนม มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน ยับยั้งเบาหวาน ลดระดับไขมันในเลือด กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอาการเม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งพิษต่อตับ[2],[11]
- สารสำคัญที่พบในรากคือสาร steroidal saponins ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่เลียนแบบฮอร์โมนเพศ จึงน่าจะมีบทบาทในการรักษาอาการที่เกิดขึ้นในช่วงวัยหมดระดูของสตรี รวมไปถึงการช่วยปกป้องการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคกระดูกพรุน[8]
- จากการศึกษาในหนูแรทโดยใช้สารสกัดจากรากด้วยเอทานอล แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเฉียบพลันและช่วงยาวต่อเนื่อง โดยการศึกษาในช่วงเฉียบพลันป้อนสารสกัดเอทานอลจากรากสามสิบในขนาด 1.25 กรัมต่อกิโลกรัม ให้กับหนูแรทที่ไม่เป็นเบาหวาน หนูแรทที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 พบว่าไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ช่วยทำให้ทนต่อการเพิ่มขึ้นของกลูโคส ในนาทีที่ 30 ดีขึ้น ส่วนการศึกษาช่วงยาวต่อเนื่องวันละ 2 ครั้ง นาน 28 วัน ให้กับหนูที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และเพิ่มระดับของอินซูลิน 30%เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มระดับอินซูลินในตับอ่อน และเพิ่มไกลโคเจนที่ตับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเบาหวานควบคุม จึงสรุปได้ว่าฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากรากสามสิบน่าจะเป็นผลมาจากการยับยั้งการย่อยและการดูดซึมสารคาร์โบไฮเดรต และเพิ่มการหลั่งอินซูลิน ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานได้[9]
- จากการทดลองทางคลินิก คือ การใช้รักษาโรคกระเพาะในคนจริง ๆ โดยการรับประทานผงแห้งของราก พบว่าได้ผลดีในการรักษาแผลที่กระเพาะและลำไส้เล็ก จากการที่กรดเกิน[11]
- เมื่อปี ค.ศ.1997 ที่ประเทศอินได้ ทำการทดลองใช้รากสามสิบกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิด mild hypertension โดยทำการทดลองเปรียบเทียบกับยาลดความดัน (Propranolol) ใช้ระยะเวลาทำการทดลองนาน 3 เดือน ผลการทดลองพบว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตลดลง < 90 mm.Hg. และลดไขมันได้ผลดี[2]
- S. K. Mitra และคณะ (ค.ศ.1996) ที่ประเทศอินเดียได้ทำการทดลองใช้สารกสัดจากรากสามสิบกับหนูทลองที่ถูกกระตุ้นด้วย Streptozotocin ผลการทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถกระตุ้นตับอ่อนของหนูให้เพิ่มการหลั่ง insulin ได้[3]
- Kishan, A. R., Ajitha M และคณะ (ค.ศ.1999) ที่ประเทศอินเดียได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากรากสามสิบกับหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นด้วยสาร Alloxan ผลการทดลองพบว่า สารดงกล่าวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือดของหนูทดลองได้[3]
- Ajit Kas, B. K. Choudhary และคณะ (ค.ศ.2002) ที่ประเทศอินเดียได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากรากสามสิบกับหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นด้วยสาร Alloxan โดยใช้ขนาดของสารสกัด 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทำการทดลอง 2 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองได้[3]
- Saito Chizako และคณะ (ค.ศ.2005) ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากสามสิบกับผู้ป่วยอายุ 59 ปีขึ้นไปที่ป่วยเป็นเบาหวาน ผลการทดลองพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จาก 270-280 mg,/dL. ลดลงเหลือ 120-130 mg./dL. และ HbAic จาก 9 ลดลงเหลือ 5.8[3]
- จากการทดสอบความเป็นพิษเมื่อให้หนูถีบจักกินสารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นสามสิบด้วย 50% เอทานอล พบว่าในขนาดสูงสุดที่สัตว์ทดลองทนได้ก่อนเกิดอาการพิษ คือ 1 กรัมต่อกิโลกรัม[2] ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าสัตว์ทดลองที่กินส่วนของรากในขนาดสูงถึง 2 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่พบความเป็นพิษ (แสดงว่าการรับประทานเป็นครั้งคราวก็ถือว่ามีความปลอดภัย) แต่มีรายงานว่าการกินน้ำต้มรากสามสิบร่วมกับการใช้ผงรากสวนเข้าทางช่องคลอดเพื่อหวังผลให้แท้งบุตร ทำให้เกิดพิษจนถึงแก่ชีวิต และยังไม่มีข้อมูลการศึกษาความเป็นพิษ หากรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน[9]
ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ
- รายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่ารากสามสิบมีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นจึงห้ามนำมาใช้ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เช่น ผู้ป่วยโรค uterine fribrosis หรือ fibrocystic breast[9],[11]
ประโยชน์ของรากสามสิบ
- ผลอ่อนสามารถนำมารับประทานได้ โดยนำมาทำเป็นแกงลูกสามสิบ[8]
- รากนำมาต้ม เชื่อม หรือนำมาแช่อิ่ม ใช้รับประทานเป็นอาหาร กรอบดีมาก (รากสามสิบแช่อิ่ม) หรือนำมาทำเป็นน้ำรากสามสิบ[5],[6],[8]
- ทางภาคอีสานจะนำยอดมาลวกรับประทานเป็นผักเคียง ใช้รับประทานสด หรือนำมาผัด[6],[8] ส่วนทางภาคใต้จะใช้ส่วนที่อยู่เหนือดินมาใส่ในแกงส้มและแกงเลียง[7]
- รากยังสามารถนำมาทุบหรือขูดกับน้ำ ทำเป็นน้ำสบู่สำหรับซักเสื้อผ้าได้อีกด้วย[11]
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เพาะปลูกโดยใช้เมล็ด เหง้า หรือหน่อ ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ควรปลูกลงในกระถางทรงสูงและใช้ดินร่วนในการปลูก ใส่ดินให้มาก ๆ รดน้ำให้ชุ่ม และควรปลูกไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดรำไรตลอดวัน[6]
- ในปัจจุบันบ้านเราได้มีการนำสมุนไพรรากสามสิบมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมรากสามสิบออกมาจำหน่ายหลายรูปแบบ ส่วนในต่างประเทศอย่างอินเดียจะใช้สมุนไพรชนิดนี้มากเป็นพิเศษ (เป็นอันดับ 2 รองจากมะขามป้อม) โดยการนำสารสกัดด้วยน้ำของรากสามสิบไปจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาในลักษณะเป็น dietary supplement ที่สามารถขายได้ทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์[11]
References
- หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สามสิบ (Sam Sip)”. หน้า 298.
- หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “รากสามสิบ” หน้า 157.
- หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “รากสามสิบ”. หน้า 176/13.
- ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “รากสามสิบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [09 ต.ค. 2014].
- สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สามสิบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [09 ต.ค. 2014].
- ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่านสามสิบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [09 ต.ค. 2014].
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ผักชีช้าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org/wiki/ผักชีช้าง. [09 ต.ค. 2014].
- รายงานการศึกษาพันธุ์ไม้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553, ส่วนจัดการป่าชุมชน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (สุราษฎร์ธานี) กรมป่าไม้. “สามสิบ Asparagus racemosus willd. ASPARAGACEAE”.
- หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “รากสามสิบ”., “ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของรากสามสิบในการยับยั้งการย่อย การดูดซึมคาร์ไฮเดรต และเพิ่มการทำงานของอินซูลิน“. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [09 ต.ค. 2014].
- หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 465, วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552. (ไพบูลย์ แพงเงิน). “สาวร้อยผัว…ผักพื้นบ้านและสมุนไพรที่น่าสนใจ”.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)