วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ขมิ้นอ้อย

                                            

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma zedoaria Rose.
ชื่ออื่นๆ ขมิ้นขึ้น (เหนือ) ว่านเหลือง (กลาง) ละเมียด (เขมร)
ชื่ออังกฤษ Zedoary, Luya-Luyahan.
ลักษณะ ไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดินขนาดใหญ่และมีใบเช่นเดียว กันกับขมิ้นขันคือเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาว 8-16 ซ.ม. ใบรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 8-16 ซ.ม. ยาว 30-45 ซ.ม. จะมีข้อแตกต่างพอสังเกตได้โดยไม่ต้องขุดหัวดู คือใบของขมิ้นอ้อย ด้านท้องใบมีขนนิ่มๆ และในหน้าแล้งเหง้าของขมิ้นอ้อยจะลอยขึ้นมาเหนือดิน ตั้งได้ฉากกับพื้นดินจึงเรียกว่าขมิ้นขึ้น ดอกออกเป็นช่อ ก้านดอกยาวพุ่งออกจากเหง้าใต้ดิน ช่อดอกมีใบประดับสีเขียวอ่อน ตอนปลายเป็นสีชมพู ใบประดับ จัดซ้อนกันเป็นรูปทรงกระบอกอย่างมีระเบียบ ดอกสีขาวนวลตรงปลายปากเป็นสีเหลือง บานจากล่างขึ้นข้างบน บานครั้งละ 2-3 ดอก
ส่วนที่ใช้ เหง้าใต้ดินที่แก่ สด และแห้ง
สารสำคัญ มีสารสีเหลืองได้แก่ curcumin และมีนํ้ามันหอมระเหย sesquiterpenes, curcumenone.
ประโยชน์ทางยา ยาไทย เหง้าสดตำ เติมนํ้าปูนใส เอาแต่นํ้ารับประทานแก้ท้องร่วง หัวขมิ้นอ้อย พริกหาง อบเชยเทศ ต้ม แล้วเติมนํ้าผึ้งรับประทานแก้หวัด เหง้าสดรับประทานแก้ปวดท้อง ขับลม ช่วยฟอกเลือด เหง้าสดตำทาแก้ฟกชํ้าบวม ใช้ใส่ในลูกประคบและในสมุนไพรต้มอาบ อบ
อื่นๆ ใช้แต่งสีเหลืองของอาหารบางชนิด เช่นข้าวเหนียวเหลือง ขนมเบื้องญวน และอื่นๆ
                                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น