วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ข้อห้ามและข้อระวังในการนวดไทย




ข้อห้ามข้อห้ามและข้อระวัง
 หากพบว่าผู้ป่วยที่มาขอรับบริการเป็นโรคหรือมีอาการหรืออาการแสดงดังต่อไปนี้ ห้ามให้บริการการนวดไทย
          ๓.๗. มีไข้เกิน ๓๘.๕ องศาเซลเซียส
          ๓.๗. มีโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
          ๓.๗. โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด เช่น วัณโรค
          ๓.๗. โรคกระดูกพรุนรุนแรง
          ๓.๗. เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้
          ๓.๗. มีรอยโรคผิวหนังที่มีการติดเชื้อหรือสามารถติดต่อได้
หมายเหตุ หากผู้ป่วยที่มาขอรับบริการมีข้อห้ามที่กล่าวข้างต้นและยังไม่ได้อยู่ในการดูแล ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์แผนปัจจุบัน) ให้แนะนำหรือส่งต่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
    ๓.๘.  ข้อควรระวังเมื่อให้การบำบัดด้วยการนวดไทย เมื่อให้การบำบัดผู้รับบริการที่มีโรค อาการ หรืออาการแสดงต่อไปนี้ ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
          ๓.๘. มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด มีประวัติเลือดออกผิดปกติรวมทั้งกินยาละลาย    ลิ่มเลือด
          ๓.๘. โรคเบาหวาน
          ๓.๘. ภาวะกระดูกพรุน
          ๓.๘. หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และเด็ก และผู้ให้การรักษาต้องหลีกเลี่ยงไม่นวดบริเวณต่อไปนี้
          ๓.๘. บริเวณท้อง หากผู้รับบริการเพิ่งรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ภายในครึ่งชั่วโมง
          ๓.๘. บริเวณที่มีโรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่ง หลอดเลือดแดงหรือดำอักเสบ หลอดเลือดแดงแข็งหลอดเลือดดำที่มีลิ่มเลือดอุดตัน
          ๓.๘. บริเวณข้อที่หลวม เคลื่อน หรือหลุด
          ๓.๘. บริเวณที่มีการผ่าตัด ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม
                    ๑.  บริเวณที่แผลหรือแผลผ่าตัดที่หายยังไม่สนิทดี
                    ๒.  บริเวณที่มีผิวบาง ผิวที่แตกง่าย
                    ๓.  บริเวณที่ปลูกถ่ายผิวหนัง
                    ๔.  บริเวณที่มีกระดูกแตก หัก ปริ ร้าวที่ยังติดไม่ดี
                    ๕.  บริเวณที่เป็นมะเร็ง หรือมีแผลเปิด แผลเรื้อรัง
                    ๖.  บริเวณที่มีการบาดเจ็บภายใน ๔๘ ชั่วโมง
                    ๗.  บริเวณที่มีการผ่าตัดภายในระยะเวลา ๑ เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น