แนวทางการดำเนินงาน
การบันทึกข้อมูล และการตรวจสอบผลงานการให้บริการแพทย์แผนไทย
คลินิกแพทย์แผนไทย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร
1.
การให้บริการ
1.1 การให้บริการเชิงรุก
· มีการจัดบริการคลินิกแพทย์แผนไทยคู่ขนานกับ OPD ปกติ
ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้การแพทย์แผนไทยสามารถอยู่ข้างเคียงกับการแพทย์แผน ปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนประชาชนมีทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพมากยิ่งขึ้น
รูปแบบการจัดบริการ รพ.สต.แร่
ประกอบด้วย
1) ผู้ให้บริการ มีแพทย์แผนไทย
1 คน
2) รายการยาสมุนไพรสาหรับให้บริการไม่ต่ำกว่า
20 รายการ
3) ห้องตรวจโรคแผนไทย แผนกผู้ป่วยนอกอย่างน้อย
3 วัน ทางการต่อสัปดาห์
มีบริการตรวจโรคทั่วไปและโรคเรื้อรังแผนไทย
·
มีการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในทุกบ่ายวัน
อังคาร-พุธ–พฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 13.00-15.30 น.
·
มีการออกเยี่ยมมารดาหลังคลอดร่วมกับผู้รับผิดชอบการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดในชุมชน
·
การมีส่วนร่วมให้บริการสุขภาพในคลินิกเบาหวานบ้านไกล
คลินิกความโรคดันโลหิตสูง
·
การมีส่วนร่วมกับองค์กรท้องถิ่น เช่น
การออกให้ความรู้ การสอนสุขศึกษา การให้บริการสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย เป็นต้น
1.2 การให้บริการเชิงรับ
· มีการจัดบริการคลินิกแพทย์แผนไทย
รพ.สต.แร่
ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้การแพทย์แผนไทยสามารถให้การ
รักษา ดูแลส่งเสริม ฟื้นฟู สุขภาพ
ตลอดจนประชาชนมีทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพมากยิ่งขึ้น รูปแบบการ จัดบริการ รพ.สต.แร่ ประกอบด้วย
1) ผู้ให้บริการ มีแพทย์แผนไทย
1 คน และผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 1 คน
2) รายการยาสมุนไพรสำหรับให้บริการไม่ต่ำกว่า
20 รายการ
3) ห้องตรวจโรคแผนไทย มีบริการตรวจโรคทั่วไป
และโรคเรื้อรังแผนไทย
ห้องนวด ห้องอบสมุนไพร
4) การนวดรักษา อบ ประคบ
สมุนไพร การทับหม้อเกลือ สมุนไพรแช่เท้า
·
การจัดบริการดูแลมารดาหลังคลอด
·
การจัดการบริการให้คำปรึกษาสุขภาพ
·
การจัดการให้บริการสมุนไพรล้างพิษในคลินิกเกษตรกร
รพ.สต.แร่
2. การบริหารจัดการและแนวทางการบันทึกข้อมูล
2.1 แนวทางการบันทึกข้อมูลการจ่ายยาสมุนไพร
วิธีการนับผลงาน นับจากการบริการในช่วงเดือนตุลาคม - เดือนกันยายน ตาม ปีงบประมาณ
ที่มีการจ่ายยารหัส 24 หลัก ขึ้นต้นด้วย 41 หรือ 42
· การบริการนับจากครั้งการรับบริการ หากมีการจ่ายยารหัส 24 หลักที่ขึ้นต้นด้วย 41 หรือ 42
· การจ่ายยานับจากรายการยาที่จ่าย หากมีการจ่ายยารหัส 24 หลักที่ขึ้นต้นด้วย 41 หรือ 42
· ชื่อยาสมุนไพรที่แสดงเป็นรหัส 24 หลัก สีแดง หมายถึง รายการยาที่ไม่มีอยู่ในรหัสมาตรฐานยาสมุนไพร
24 หลัก เพื่อการตรวจสอบให้ถูกต้องต่อไปและยังนับรวมเป็นผลงานอยู่
2.2 แนวทางการบันทึกข้อมูลบริการนวดไทย
(นวด อบ ประคบสมุนไพร)
· การให้บริการในสถานบริการ
· วิธีการนับ
นับจากการบริการในช่วงเดือนตุลาคม
- เดือนกันยายน
ตามรอบปีงบประมาณ เฉพาะการบริการภายในสถานบริการ
· บริการแผนไทย
(ครั้ง) เป็นการนับการบริการแผนไทยทั้งหมดที่เกิดขึ้นในหน่วยบริการ
ไม่ใช่เฉพาะการนวด อบ ประคบ และหากเป็นการบริการ นวด อบ ประคบ อาจมีการบริการ นวด อบ
ประคบ ด้วยกันใน 1 ครั้งได้
· รายงานนี้นับการ
นวด อบ ประคบ เป็นครั้ง แม้มีการลงรหัสหัตถการการนวดมากกว่า 1 รายการ ก็จะนับเป็นการนวดเพียง
1 ครั้ง เช่น มีการลงรหัสการนวดที่แขน และการนวดที่ขา รวม 2 รายการ ระบบจะนับเป็นการนวด 1 ครั้ง เช่นเดียวกันกับการ
ประคบ หรืออบ
· บริการนวด
ผู้ให้บริการ 1 คน สามารถให้บริการได้ไม่เกิน 5 ครั้งต่อวันเท่านั้น
2.3 การให้บริการนอกสถานบริการ
· วิธีการนับ
นับจากการบริการในช่วงเดือนตุลาคม 2557 - เดือนกันยายน
2558 ตามรอบปีงบประมาณ เฉพาะการบริการนอกหน่วยบริการ
· บริการแผนไทย
(ครั้ง) เป็นการนับการบริการแผนไทยทั้งหมดที่เกิดขึ้นอกหน่วยบริการ
ไม่ใช่เฉพาะการนวด อบ ประคบ และหากเป็นการบริการ นวด อบ ประคบ อาจมีการบริการ นวด อบ
ประคบ ด้วยกันใน 1 ครั้งได้
· รายงานนี้นับการ นวด อบ ประคบ เป็นครั้ง แม้มีการลงรหัสหัตถการการนวดมากกว่า 1 รายการ ก็จะนับเป็นการนวดเพียง
1 ครั้ง เช่น มีการลงรหัสการนวดที่แขน และการนวดที่ขา รวม 2 รายการ ระบบจะนับเป็นการนวด 1 ครั้ง เช่นเดียวกันกับการ
ประคบ หรืออบ
· บริการนวด
ผู้ให้บริการ 1 คน สามารถให้บริการได้ไม่เกิน 5 ครั้งต่อวันเท่านั้น
3. แนวทางการบันทึกข้อมูลการให้บริการหลังคลอดทับหม้อเกลือ
· การบริการ
1 ครั้งต้องประกอบด้วย หัตถการครบทั้ง 5 รายการ
ดังนี้
9007712
การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือที่ทั่วร่างกาย
9007713
การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการนวดที่ทั่วร่างกาย
9007714
การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการประคบสมุนไพรที่ทั่วร่างกาย
9007716
การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการอบไอน้ำสมุนไพรที่ทั่วร่างกาย
9007730
การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการปฏิบัติตัวสำหรับหลังคลอดที่ทั่วร่างกาย
มารดาทั้งหมด หมายถึง มารดาที่คลอดบุตรในช่วงเดือนตุลาคม - เดือนกันยายน ตามรอบ
การประเมินของ สปสช.
ได้รับบริการ หมายถึง มารดาหลังคลอดได้รับบริการครบ 5 รายการ อย่างน้อย 1 ครั้ง
· บริการครบ 5 ครั้ง มารดาหลังคลอดได้รับบริการครบ 5 รายการ ครบ 5 ครั้ง
ตามเกณฑ์
· บริการเกิน 5 ครั้ง เกณฑ์การบริการของ สปสช. กำหนดให้มีการบริการ 5 รายการข้างต้นได้ไม่เกิน 5 ครั้ง หลังการคลอดบุตรแต่ละครรภ์
· บริการเกิน 90 วัน เกณฑ์การบริการของ สปสช. กำหนดให้บริการครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ห่างกันได้ไม่เกิน
90 วัน
· บริการล่าช้า มารดาหลังคลอดควรได้รับการบริการครั้งแรกภายใน 45 วัน หลังวันที่คลอดบุตร หากเกิน
45 วันถือว่าล่าช้า เว้นแต่กรณีสุดวิสัยอื่นๆ เช่น แผลจากการผ่าคลอดหายช้ากว่าปกติ
หรือแผลผ่าคลอดมีการติดเชื้อ
4. แนวทางการตรวจสอบผลงานการให้บริการแพทย์แผนไทยระดับหน่วยงานและจังหวัด
ระดับหน่วยงาน
-รายงานการจ่ายยาสมุนไพร
-รายงานการให้บริการ นวดไทย (นวด อบ ประคบสมุนไพร)
-รายงานการให้บริการหลังคลอดทับหม้อเกลือ
ระดับจังหวัด
สามารถตรวจสอบได้จาก www.203.157.81.35/mis/ttm
5. ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการงานแพทย์แผนไทย เชิงรุก – เชิงรับ ของ รพ.สต.แร่
5. ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการงานแพทย์แผนไทย เชิงรุก – เชิงรับ ของ รพ.สต.แร่
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้กำหนดมาตรฐานหน่วยบริการด้านการแพทย์แผนไทยไว้
5 ด้านด้วยกัน การจะทำให้การบริการแพทย์แผนไทยบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
และความร่วมมือในการดำเนินงานแบบบูรณการร่วมกันของบุคลากร
และหน่วยงานหลายภาคส่วนในพื้นที่ ดังนี้
· การให้ความร่วมมือของบุคลากร
รพ.สต.แร่ ในการบูรณการงานแพทย์แผนไทยกับงานแพทย์แผนปัจจุบัน
· การมีส่วนร่วมระหว่างงานแพทย์แผนไทยกับงานแพทย์แผนปัจจุบัน
เช่น คลินิกเบาหวานบ้านไกล คลินิกโรคความดันโลหิตสูง คลินิก ANC คลินิกผู้สูงอายุ เป็นต้น
· การมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่ายในการขยายโอกาสการให้บริการ
ได้แก่ กลุ่มเครือข่าย อสม.รพ.สต.แร่ กลุ่มเครือข่าย อสม.แพทย์แผนไทย รพ.สต. แร่
จิตอาสา
· การบริการที่เน้นงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ไม่รอให้ผู้ป่วยมารับบริการ
แต่เน้นการให้บริการถึงที่และตรงเป้าหมาย โดยเฉพาะผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์
อัมพาต ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มโอกาสการให้บริการแก่ผู้ป่วยทุกคน
· การมีหัวใจบริการ
มีความเมตตาจิตแก่คนไข้ ไม่เห็นแก่ความยากลำบาก เน้นการปฏิบัติจริง
มีการให้บริการที่ดี
และเป็นมาตรฐานเดียวกันแก่ผู้ป่วยทุกคน ไม่แบ่งแยก
· มีการวางแผนการจัดการบริการที่ดี
เป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ